กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใส่ใจสุขภาพโรคเรื้อรัง ร่วมดูแลใกล้บ้าน ใกล้ใจ
รหัสโครงการ 66-L2529-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 51,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในทุกด้าน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าวิถีการดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ล้วนส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่คร่ำเคร่งกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพในด้านต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงละเลยต่อการออกกำลังกายทั้งโดยทางตรงและขาดการเคลื่อนไหวในลักษณะของการออกกำลังกายประจำวัน จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามมาและเมื่อพิจารณาถึงโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของโรคติดต่อ ปัจจุบันโรคเหล่านี้มีแนวโน้มลดลงโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคไม่ติดต่อ โรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนโรคเรื้อรัง การมีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจเป็นสิ่งที่ทุกกคนพึ่งปรารถนา โดยที่การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายความเพียงแต่การไม่เจ็บป่วยหรือปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
  จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้สอดคล้องนโยบายตามกระจายงบประมารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนสร้าง นำซ่อม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้คนไทยเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ที่ปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยจากพฤติกรรมทางสุขภาพและการบริโภคไม่ถูกต้องเสี่ยงต่อโรคกลุ่ม Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดและสมอง ส่วนทางพันธุกรรม อายุ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด ขาดออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สูบบุหรี่ ถ้าหากประชาชนไม่มีการควบคุมปัจจัยดังกล่าว ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคในกลุ่ม Metabolic เหล่านั้นได้ ถ้าพฤติกรรมไม่ดีอาจมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแล เสียรายได้ ตลอดจนส่งผลทางด้านค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของรัฐไปด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถแก้ปัญหาสุขภาพร้อยละ 80

2 2. เพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงสภาวะสุขภาพของตนและการดูแลตนเอง การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

ประชาชนรับทราบถึงสภาวะสุขภาพของตนและการดูแลตนเอง การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค Metabolic   ๒. ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
  ๓. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรค Metabolic
  ๔. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายแข็งแรงจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ในที่สุด   ๕. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าสู่ระบบการดูแลที่ถูกต้องและไม่มีการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 15:23 น.