กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมมือร่วมใจฝากครรภ์ดีมีคุณภาพป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
รหัสโครงการ 66-L2529-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 42,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและการคลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรกเกิด ปัญหาการคลอดก่อนกำหนด เกิดจากปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ สารเคมี สิ่งแวดล้อม และจิตสังคม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เช่น การปฏิบัติตนของมารดา เรื่องโภชนาการขณะตั้งครรภ์ การใช้ยาและสารเสพติด และการติดตามทารกในครรภ์ ผลกระทบจากการที่มารดาคลอดก่อนกำหนด มารดาต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย นอกจากนี้บุตรที่คลอดก่อนกำหนด จะมีน้ำหนักตัวน้อย เจ็บป่วยง่าย มารดาต้องดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้มารดามีความวิตกกังวล สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง   จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลศรีสาครของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ ในปี 2564  มีมารดาคลอดก่อนกำหนดจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.49 และมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ ในปี 2565 มีมารดาคลอดก่อนกำหนดจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.02 พบปัญหาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ การดูแลตนเองและทารกในครรภ์อาจไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ บุคคลในครอบครัว รวมถึงภาคีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยในการดูแล เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดปัญหาและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดขณะตั้งครรภ์ ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการร่วมมือร่วมใจฝากครรภ์ดีมีคุณภาพป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด มุ่งเน้นการส่งเสริมด้านความรู้และการติดตามขณะตั้งครรภ์ตลอดจนหลังคลอดให้มีความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก รวมถึงการส่งเสริมความรู้ให้แก่ภาคีเครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อการเข้าถึงและรวดเร็วในการพบเจอปัญหา สามารถส่งต่อข้อมูลมายังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาความเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ตลอดจนหลังคลอดได้อย่างปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพ

1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพ  ร้อยละ 100

2 2. เพื่อป้องกันและลดโอกาสการคลอดก่อนกำหนด

2.หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดไม่เกินร้อย 7

3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความตระหนัก การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

3.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความตระหนัก การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาและทารกปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนและการคลอดก่อนกำหนด
  2. ป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาการตายของมารดาและภาวะทุพลภาพของทารกแรกเกิด 3.  ชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแลหญิงมีตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัย สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้มีประชากรที่มีคุณภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 20:39 น.