กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รู้จักโรค รู้จักป้องกัน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรังที่บ้านทุ่งโชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤษภาคม 2566 - 6 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 6 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 11,589.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฉลอง แก้วศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ค. 2566 25 พ.ค. 2566 11,589.00
รวมงบประมาณ 11,589.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพ อันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิต และภาวะโรคโดยรวม จากรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก
พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับในประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจาก กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นอันดับต้น ๆ จากการรายงานข้อมูลของกองยุทธศาสตร์ และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง 2561 พบอัตราการตายอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ โดยในปี พ.ศ.2561 โรคไม่ติดต่อที่เป็นสาเหตุการตายสามอันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งทุกประเภท รองลงมา คือโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ (อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, 2562) และในจังหวัดสงขลา พบว่า ร้อยละของประชากร อายุ 35 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับร้อยละ 18.31 ในปี 2561
และ 16.04 ในปี 2562 และมีผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงในทุกกลุ่มอายุในปี พ.ศ. 2563 คิดเป็นอัตรา 800.85 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2564 คิดเป็นอัตรา 907.46 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ. 2565 คิดเป็นอัตรา 935.50 ต่อประชากรแสนคนและในหมู่บ้านทุ่งโชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงในทุกกลุ่มอายุ ในปีพ.ศ. 2565 คิดเป็นอัตรา 992.28 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานในทุกกลุ่มช่วงอายุ ปีพ.ศ. 2563 คิดเป็นอัตรา 428.57 ต่อประชากรแสนคน ปีพ.ศ. 2564 คิดเป็น 305.50 ต่อประชากรแสนคน ปีพ.ศ. 2563 คิดเป็นอัตรา 330.76 ต่อประชากรแสนคน โดยมีปัจจัยเชิงลบด้านพฤติกรรมในประชากรที่แย่ลง คือ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ การมีความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, 2562) หากไม่ได้รับการแก้ไขจะนำไปสู่ปัญหาทางสังคมอันเนื่องมาจากอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพของประชากรเพิ่มขึ้น และผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามมา
จากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ประชากร หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งโชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 96 คน และฐานข้อมูลอัตราป่วยในรอบ 2 ปี จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง พบว่า สมาชิกในชุมชนเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง 72 คน คิดเป็นอัตรา 115.94 ต่อประชากร 1,000 คน โรคเบาหวาน 27 คน คิดเป็นอัตรา 43.48 ต่อประชากร 1,000 คน และจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน หมวดที่ 1 ด้านสุขภาพ คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี พบว่า จากการสำรวจทั้งหมด 335 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 146 คน คิดเป็นอัตรา 43.58 ตัวชี้วัดตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน หมวดที่ 5 ด้านค่านิยม คนในครัวเรือนที่ไม่ดื่มสุรา พบว่า จากการสำรวจทั้งหมด 518 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 11.20 ตัวชี้วัดตามข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน และคนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ พบว่า จากการสำรวจทั้งหมด 518 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 13.71 ตัวชี้วัดตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน และจากการสำรวจสอบถามพฤติกรรม การบริโภคของประชากรในชุมชน 96 คน พบว่า มีการควบคุมปริมาณอาหารและควบคุมอาหารประเภทหวาน มัน เค็มในแต่ละมื้อ ไม่เหมาะสม จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 76.04 มีการรับประทานผักและผลไม้สดสะอาดเสมอ วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม ไม่เหมาะสม จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 นาที/วัน และออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันขึ้นไป ไม่เหมาะสม 39 คน คิดเป็นร้อยละ 40.62 พฤติกรรมจัดการความเครียดของตนเองที่ ไม่เหมาะสม จํานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 44.79 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ ไม่เหมาะสม จํานวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 32.29 และพฤติกรรมการดื่มสุุรา หรือเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เหมาะสม จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 26.04 ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนในชุมชน ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถป้องกันได้จากการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนในชุมชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถ ดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ ของผู้ป่วยคนอื่น ๆ ในชุมชนเป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้ หลัก 3อ. 2ส. เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถดูแลตนเองได้เหมาะสม ลดอัตราการเสียชีวิตได้ จากการทำประชาคมหมู่บ้าน ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ประชาชนที่เข้าร่วม ประชาคมทั้งหมด 15 คน และประชาชนส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงถึงปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 10 คน จากทั้งหมด 15 คน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือก รับประทานอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ นักศึกษากลุ่ม 02/5 และ 02/6 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับสมาชิกในชุมชน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ร่วมกันจัดทำโครงการ “รู้จักโรค รู้จักป้องกัน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ที่บ้านทุ่งโชน” โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน กิจกรรมการออกกำลังกาย และการคัดกรองโรค ในประชากรกลุ่มเสี่ยงและประชากรที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อยู่เดิม เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรค เพื่อให้สมาชิกหมู่ที่ 7 บ้านทุ่งโชน มีความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการติดตามประเมินโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนร้อยละ 100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการได้รับการติดตามโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง

จำนวนร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส.

จำนวนร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 3อ. 2ส. อย่างถูกต้อง

4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการออกกำลังกายป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยผ้าขนหนูและบาร์สโลบ

จำนวนร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการสามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขนหนูและบาร์สโลบได้ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ. 2ส.
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง บุคคลในครอบครัว และในชุมชนต่อไปได้
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการติดตามโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานแล้วพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการส่งต่อข้อมูล และเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
  4. สามารถลดอัตราการป่วยของผู้ป่วยรายใหม่จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
  5. ภาคีเครือข่าย และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และเกิดกระแสสุขภาพขึ้นในชุมชน
  6. ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2566 15:02 น.