กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย ปี 2566
รหัสโครงการ L3035-66-01-005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 119,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารีป๊ะ ศรีสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้าง จึงต้องมีการคัดแยก ขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำไปรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่า ขยะรีไซเคิลมีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้นๆ ขยะมูลฝอยในครัวเรือน โดยทั่วไปสามารถแยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งเมื่อแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิล การคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป
      ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 2 รักษาความสะอาดถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ข้อ 7 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม       กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรและสถานที่กำจัดขยะที่จำกัด ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นเวลาและปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาวจะต้องสนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน สร้างแรงจูงใจให้แก่ประชาชนในการ่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือน ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา จึ่งได้จัดทำโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย ปี 2566 เพื่อให้ประชาชนตำบลสะดาวาได้เข้ามามีส่วนร่วมในคัดแยกขยะ เพื่อให้ตำบลสะดาวาสะอาดและปราศจากโรคภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง

2 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชนเพิ่มมากขึ้น

ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรม มีการคัดแยกในครัวเรือนและชุมชน

3 เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และลดแหล่งสะสมและแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรค

อัตราการเกิดโรคที่มาจากสัตว์พาหะนำโรค เช่นแลงและโรคที่เกิดจากน้ำและอาหาร มีอัตราที่ลดลงจากเดิม

4 เพื่อให้ประชาชนสามารถนำขยะที่ไม่ใช้แล้วไปไปสร้างให้เกิดมูลค่าได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำขยะไปสร้างมูลค่าได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 119,100.00 2 119,100.00
6 ก.ค. 66 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะที่ต้นทาง 100 20,850.00 20,850.00
10 - 14 ก.ค. 66 กิจกรรมลงพื้นที่เคาะประตูบ้านจัดตั้งถังขยะเปียกและตะแกรงขยะในชุมชน 500 98,250.00 98,250.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ตำบลสะดาวามีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
  2. ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยกันคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น
  3. สามารถลดแหล่งสะสมและแหล่งหมักหมมของขยะที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 16:54 น.