กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายในชุมชนเพื่อลดโรคประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L3035-66-02-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนสาฆอรักษ์สิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 40,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอายุบ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาหลักด้านมลพิษของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนของประชาชนที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งส่งผลให้รูปแบบ การดำรงชีวิตของประชาชนจากรูปแบบชุมชนชนบทซึ่งผลิตขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยต่อวัน กลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชนเมืองหรือชุมอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการจำกัดขยะมูลฝอย กลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ที่จะสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้น้อยลงทุกวัน รวมทั้งการต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย จึงส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยรุนแรงเพิ่มมากขึ้น         การจัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิลและขยะอันตรายในชุมชน เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น รบกวน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างจุดตัวอย่างการจัดการขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนดูแล/จัดการกับปัญหาขยะที่เกิดจากครัวเรือนได้อีกด้วย ในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ในส่วนของขยะอินทรีย์และขยะอันตราย ยังไม่มีแนวทางในการบริหารจัดการ และเป็นขยะที่มีจำนวนมากในชุมชน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชน และยังช่วยในการลดปัญหาสุขภาพ ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะ ที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคในชุมชน         จากปัญหาดั่งกล่าวทีมเยาวชนสาฆอรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้จัดโครงการการจัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายในชุมชนเพื่อลดโรคประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้หลักการแรงจูงใจการฝึกฝนทักษะการใช้ประโยชน์จากขยะ โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชน ร่วมทั้งให้เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนัก รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพตัวเองและสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งเพราะเด็กคือ อนาคตของชุมชนและสังคม เพื่อก่อเกิดผลต่อการมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยจากมลพิษรวมทั้งสามารถนำประสบการณ์นี้เพื่อไปใช้พัฒนาในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถทำให้เยาวชนมีความตระหนักถึงปัญหาขยะ สามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ห่างไกลจากสิ่งอบายมุก และรู้จักการจัดการขยะในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ในเรื่องการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายในชุมชน

ผู้ที่เข้าร่วมอบรม ร้อยละ 80 มีความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายในชุมชน

50.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย

ผู้ที่เข้าร่วมอบรม ร้อยละ 100 ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะรีไซเคิลเพื่อป้องกันจากการแพร่ระบาดของโรค

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะ สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีน่าอยู่ น่าอาศัย. 2.ผู้ที่เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรุ้ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันแล ะสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แกผู้อื่นได้ 3.สามารถป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดที่นำโดยอาหารและแมลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 17:21 น.