กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดภัย ห่างไกลสารเคมี
รหัสโครงการ 66-L2502-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกาลิซา
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 41,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมัด อิบรอเห็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (41,250.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตา ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้ว การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
จากการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า ประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกาลิซา ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการนำมาใช้นั้นได้มี การใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียดพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือ และรองเท้าบูทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ การรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกาลิซา ได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดภัยห่างไกลสารเคมี เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกวิธี ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่ามีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด และเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพจาการใช้สารเคมีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง

 

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีจากการใช้สารเคมี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ   1.2 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2 ขั้นดำเนินการ 2.1 แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด 2.2 เจาะเลือดตรวจหาสารเคมีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี โดยใช้กระดาษ Reactive Paper
2.3 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการดูแลตนเองเพื่อกันป้องกันพิษจากการใช้สารเคมีทางเกษตรกรรม 2.4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำข้อเสนอแนะไปปฏิบัติพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3 ขั้นหลังดำเนินการ 3.1 สรุปผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร   3.2 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 3.3 รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลิซา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกษตรกรได้รับคัดกรองเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีจากการใช้สารเคมี ร้อยละ 60 2 เกษตรกรมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 3 เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศตรูพืชอย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 09:39 น.