กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพนักเรียนผู้สูงอายุตาชี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลตาชี
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุตำบลตาชี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.115place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 พ.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 8,750.00
รวมงบประมาณ 8,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมผู้สูงอายุได้จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น มีผู้สูงอายุสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีและแข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่าง ๆ ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความรู้ความเข้าใจกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนของสังคม ซึ่งนับวันมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง ทางโรงเรียนผู้สูงอายุมีความตระหนักดี จึงได้ชักนำให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มเข้าสู่โรงเรียน เพื่อทำกิจกรรมที่ส่งเสริมเกี่ยวกับสุขภาพและป้องกันโรคของผู้สูงอายุเช่นกิจกรรม การออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ กิจำรรมฝึกอาชีพต่างๆ กิจกรรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิตประจำวันที่มีคุณภาพ กิจกรรมพบปะสังสรรค์ เป็นต้น โดยกำหนดจัดกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 วัน เป็นเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ คิดเป็น ชั่วโมง จำนวน 36 ชั่วโมง     กิจกรรมที่จัดเช่น การจัดกิจกรรมประชุม การออกกำลังกาย การให้ความรู้ และทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกันของสมาชิก เป็นการให้ความรู้ในการดูแลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเปลี่ยนเปลงของสังคม การส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ตลอดจนแนวทางการดำเนินชีวิตประจำของผูู้สูงอายุ เป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงตามวัย และสามารถป้องกันโรคของผู้สูงอายุได้ในระดับหนึ่ง     ชมรมผู้สูงอายุตำบลตาชีได้ตระหนักถึงความสำคัญในการมุ่งส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของนักเรียนผู้สูงอายุ เพื่อให้สมาชิกในชมรมมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี และไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม ชุมชนต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพนักเรียนผู้สูงอายุขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวัน
  1. นักเรียนผู้สูงอายุร้อยละ 92 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวัน
25.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตใจที่สมบูรณ์ และแข็งแรง
  1. นักเรียนผู้สูงอายุร้อยละ 94 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์และแข็งแรง
25.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนผู้สูงอายุคลายเครียด ไม่มีความซึมเศร้า และกล้าแสดงออก
  1. นักเรียนผู้สูงอายุร้อยละ 96 มีความสดชื่น ร่าเริง และกล้าแสดงออก จากการทำกิจกรรมนันทนาการ
25.00
4 4. เพื่อให้นักเรียนผู้สูงอายุสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน
  1. นักเรียนผุ้สูงอายุร้อยละ 95 สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคม ได้อย่างมีความสุข
25.00
5 5. นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ด้านอาชีพเสริม
  1. นักเรียนผู้สูงอายุร้อยละ 50 สามารถหารายได้เสริมจากอาชีพที่เรียน
25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนผู้สุงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการการดูแลสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวันที่เหมาะสม
  2. นักเรียนผู้สูงอายุมีสุขภาพกานและสุขภาพจิตที่แข็งแรงและสมบูรณ์
  3. นักเรียนผู้สูงอายุมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
  4. นักเรียนผู้สูงอายุกล้าแสดงออกมากขึ้น
  5. นักเรียนผู้สูงอายุได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน
  6. นักเรียนผู้สูงอายุมีความรุ้ด้านอาชีพต่าง ๆ
  7. นักเรียนผู้สูงอายุมีคกุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  8. นักเรียนผู้สูงอายุสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 11:11 น.