กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมมือแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลย่านซื่อ
รหัสโครงการ 66-L8407-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลย่านซื่อ
วันที่อนุมัติ 16 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 25 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรสนา ลำโป
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอด ของผู้ประกอบการขายอาหารในเขตตำบลย่านซื่อ
70.00
2 ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ค่านิยมบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้น จนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดี ทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้าสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืช โดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปี ประเทศไทยบริโภคถึงปีละ 800,000 ตัน ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอดจะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไปจึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆ ต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารโพลาร์” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหาร กำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมัน จะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอดทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงปลอดภัยและลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการการผลิตสบู่ ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วย ดังนั้น เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลย่านซื่อ จึงได้จัดทำโครงการ “ร่วมมือแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลย่านซื่อ” ขึ้น เพื่อให้พี่น้องชาวตำบลย่านซื่อมีองค์ความรู้ในการประกอบอาหารด้วยวิธีการทอดอย่างถูกวิธีและไม่อันตรายต่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอด ของผู้ประกอบการขายอาหารในเขตตำบลย่านซื่อ

คนในพื้นที่มีสุขภาพที่ดีปลอดภัยจากโรคที่เกิดจาก “ สารโพลาร์”

70.00 50.00
2 ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ผู้ประกอบการอาหารทอด ตระหนักถึงผลเสียในการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอด ของผู้ประกอบการขายอาหารในเขตตำบลย่านซื่อ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? 1. กิจกรรมครั้งที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลน้ำมันทอดซ้ำในร้านค้าที่จำหน่ายอาหารประเภทใช้น้ำมันในเขตพื้นที่ตำบลย่านซื่อ - ค่าชุดตรวจสารโพลาร์ 3 ชุด เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นเงิน 4 18,450.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. เกิดการพัฒนากลไกระบบการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ
  3. ประชาชนผู้บริโภคอาหารทอดซ้ำในเขตพื้นที่ตำบลย่านซื่อได้รับความปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566 00:00 น.