กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5240-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพรชัย กลัดเข็มทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุม ความรู้ไม่เท่าทันรวมถึงไม่เข้มแข็งในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย จากสถานการณ์ปัญหา ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนในด้านต่างๆเช่น ปัญหาการบริโภคยาชุด ยาสเตียรอยด์ การบริโภคผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารจากการหลงเชื่อโฆษณา การบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนอันตราย กลยุทธทางด้านการตลาดผู้ผลิตย่อมต้องการกำไรสูงสุด ภายใต้เทคนิคการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย มีการลด แลก แจก แถม อวดอ้าง สรรพคุณเกินความเป็นจริง ดังนั้นการเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องและจำเป็น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพต่างๆ มีการจัดกระบวน"เชื่อมโยง"เพื่อให้ภาคีเครือข่ายตลอดจนประชาชนในชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความเสี่ยงให้กับตนเองครอบครัวไป จนถึง"ชุมชน"ในรูปแบบเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในชุมชน อันเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้เข้มแข็ง และยังพัฒนาผู้ประกอบการและสถานประกอบการให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น
จากผลการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของรพ.สต.พรวน ปี2565 พบว่า มีการตรวจน้ำแข็งในแผงจำหน่ายน้ำและน้ำแข็ง 6 ร้านไม่ผ่าน 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ตรวจร้านขายของขำ 11 ร้าน พบมีการจำหน่าย ยาชุดและยาอันตราย 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 18.18 มีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศห้ามขาย อีก 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และจากรง506 ของรพ.สต.พรวนพบอัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วงในทุกกลุ่มอายสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นการเฝ้าระวังให้ประชาชนได้บริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาด ปลอดภัย และปราศจากสารปนเปื้อน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี2565 ขึ้น เพื่อให้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

เกิดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 เครือข่าย

1.00 2.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า/แผงลอย ตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการเลือกซื้อ/ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยแก่ชุมชน

สถานที่ประกอบการร้านชำ ได้รับการตรวจติดตามดูแลด้านสุขาภิบาล/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 100

12.00 12.00
3 เพื่อให้แผงจำหน่ายอาหารสดปลอดสารปนเปื้อน 6 ชนิด

แผงจำหน่ายอาหารสดปลอดสารปนเปื้อน 6 ชนิด ร้อยละ 90

90.00 100.00
4 เพื่อตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียในโรงเรียน/วัด/สถานบริการ

โรงเรียน/วัด/สถานบริการได้รับการตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ร้อยละ 100

3.00 3.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ปลอดภัยจากการใช้ยาสงสัยปนเปื้อนสเตียรอยด์ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการเยี่ยมบ้านและตรวจสอบ การใช้ยาสังสัยปนเปื้อน สเตียรอยด์ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

3.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,900.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 ตรวจ SI 2 (โคลิฟอร์มแบคทีเรีย) 0 6,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการด้านอาหาร สถานประกอบการด้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง 2.ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย จนเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน 3.ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นโรคที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหารและบริโภคอาหารเป็นปัจจัยหลักลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2566 00:00 น.