กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ดูแลสุขภาพประชาชนในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเกิดโรคระบาด
รหัสโครงการ 61-L5171-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเหรียง
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวลักษณ์ ขุนเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเสาวลักษณ์ ขุนเอียด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ภัยพิบัติหรือการเกิดโรคระบาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลบางเหรียง ถือว่าเป็นวิกฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายตามมามากมายในพื้นที่ โดยเฉพาะประชาชนที่ประสบปัญหาด้านปัจจัยในการดำรงชีวิตที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ขาดแคลนอาหารสิ่งของอุปโภค บริโภค รวมจนถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งระหว่างเกิดภัยพิบัติและหลังเกิดภัยพิบัติ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบางเหรียงมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับประชาชน ทั้งที่บ้านและที่ชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพ การป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ภัยพิบัติหรือการเกิดโรคระบาด การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่ และศูนย์อพยพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยรวมต่อประชาชนในพื้นที่ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร น้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด และปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่มีผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยดังกล่าวซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน คณะกรรมการบริหารกองทุนฯจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพประชาชนกรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนและช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์สภาวะการณ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและสตรีมีครรภ์ ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงประชาชนกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือและดูแลในสถานการณ์อุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด

ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ได้รับการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพ ปลอดจากโรคในระหว่างเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด

2 2. เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในช่วงหลังสถานการณ์ภัยพิบัติหรือโรคระบาด

สมรรถภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของประชาชนได้รับการฟืนฟู ในช่วงหลังสถานการณ์ภัยพิบัติหรือโรคระบาด

3 3. เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติหรือโรคระบาด

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติหรือโรคระบาด ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด
  2. การให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติหรือโรคระบาด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และพื้นฟูสมรรถภาพประชาชนระหว่างและหลังการเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดตามความจำเป็นและเหมาะสม
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติหรือโรคระบาดตามความจำเป็นและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 10:40 น.