กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์ดี มีคุณภาพ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ปี2566
รหัสโครงการ 66-L3020-02-016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินอุดหนุนฯการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานบ้านกูแบปูยู
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางส่วยบ๊ะ ปูลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการฝากครรภ์คุณภาพอย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์ จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และ เพื่อลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายของมารดาและทารก การฝากครรภ์ช้ามีผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก เนื่องจากการที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงและการการดูแลตามมาตรฐานการฝากครรภ์ช้า จะส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้ ในปีงบประมาณ 2565 ทางชมรม อสม.ในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่ลาน มีหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในเขต PCU จำนวน 53 ราย ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เพียง 32 ราย (ร้อยละ 60.37 ) ซึ่งเกณฑ์ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ คือร้อยละ 75 และเป็นการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหลายด้าน ได้แก่ มารดามีเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 1 ราย (ร้อยละ 9.00) ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี 7 ราย (ร้อยละ 13.20) ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี 2 ราย (ร้อยละ5.4) อายุต่ำสุด คือ 13 ปี มี 1 ราย ต้องออกจากระบบการศึกษามาศึกษาต่อนอกระบบ ซึ่งมารดาที่ตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ สติปัญญา พฤติกรรมและอารมณ์ตามมา รวมถึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพร่างกาย จิตใจและสังคม ต่อไป ดังนั้น ชมรม อสม.ในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่ลาน จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์โดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ประเมินปัญหาและดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้ดีมีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย รวมถึงให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้เตรียมความพร้อมในการเป็นมารดาที่ดี สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ 2. รวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ประวัติการฝากครรภ์ภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ 3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. ดำเนินงานตามแผนโครงการ 5. กิจกรรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ในพื้นที่ 6.กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ในพื้นที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ 7. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและเยี่ยมหลังคลอดร่วมกับ อสม. ในเขตพื้นที่ 8. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลัง คลอดได้อย่างถูกต้อง 2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และการฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์มากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 14:14 น.