กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L8419-2-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มีนาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพันธ์ ใหม่เพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่าผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ๕ กิจกรรม ได้แก่ ๑) ออกกําลังกาย ๒) รับประทานผักสดและผลไม้สด ๓) ดื่มนํ้าสะอาดวันละ ๘ แก้วหรือมากกว่า ๔) ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ๕) ไม่สูบบุหรี่ มีเพียงร้อยละ ๑๘.๗ เท่านั้น ทั้งนี้การออกกําลังกายสมํ่าเสมอเป็นพฤติกรรมที่พบตํ่าที่สุดผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๓๑.๗ โรคเบาหวานร้อยละ ๑๓.๓ โรคหัวใจร้อยละ ๗.๐ โรคหลอดเลือดในสมองตีบร้อยละ ๑.๖ อัมพาต/อัมพฤกษ์ ร้อยละ ๒.๕ และโรคมะเร็งร้อยละ ๐.๕ผ้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ (มีข้อจํากัดในการทํากิจวัตรประจําวันด้วยตนเอง) ประมาณร้อยละ๑๕ ของผ้สูงอายุ การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นในชีวิตประจำวันอยางน้อย ๑๕๐ นาทีต่อสัปดาห์หรือวันละ ๓๐ นาที ๕ วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจาก นั้นยังทำให้กล้ามเนื้อขาแขนแข็งแรง ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น และลดการหกล้ม
ชมรมผู้สูงอายุตำบลดอน จึงได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายในผู้สูงอายุขึ้น โดยมีแนวคิดให้ความรู้การออกกำลังกายในภาพรวม จัดให้มีแกนนำผู้สูงอายุ ติดตามกระตุ้นให้ ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน เพื่อให้มีพฤติกรรมต่อเนื่องเป็นนิสัย เกิดความยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความตระหนักเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพ ในเรื่องของ ๑๑ อ.

0.00
2 2.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 6๐ ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลดอน มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้หลัก ๑๑ อ. ( อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อนามัย แสงอาทิตย์อารมณ์ อดิเรก อบอุ่น (โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) อุจจาระ/(ปัสสาวะ) อุบัติเหตุ อนาคต )(9 มี.ค. 2566-29 ก.ย. 2566) 31,120.00              
รวม 31,120.00
1 ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้หลัก ๑๑ อ. ( อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อนามัย แสงอาทิตย์อารมณ์ อดิเรก อบอุ่น (โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) อุจจาระ/(ปัสสาวะ) อุบัติเหตุ อนาคต ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 31,120.00 0 0.00
9 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 - การอบรม “เรื่อง การ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้หลัก ๑๑ อ. (อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อนามัย แสงอาทิตย์อารมณ์ อดิเรก อบอุ่น (โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) อุจจาระ/(ปัสสาวะ) อุบัติเหตุ อนาคต )” - กิจกรรมการแสดงมหกรรมสุขภาพด้วยการเต้นบ 120 31,120.00 -

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ     2.แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการ
    3.จัดประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย     ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน
    ๕. ดำเนินการตามโครงการ     ๕.๑ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยการเดินหรือถีบจักรยานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การออกกำลังกาย โดยวิทยากร  โดยใช้หลัก ๑๑ อ. (ให้สูงวัยแบบ Strong) ดังนี้
          ๕.๑.๑    ๑อ อาหาร อายุวัย ๕๐ ปี ลดปริมาณอาหาร กินให้ครบ ๕ หมู่ กินผักผลไม้วันละ ๕ จานเล็ก           ๕.๑.๒    ๒อ อากาศ อยู่ในสิ่งแวดล้อมดี อากาศบริสุทธิ์ อารมณ์แจ่มใส สุขภาพดี อายุยืนยาว           ๕.๑.๓    ๓อ ออกกำลังกาย สม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ นาที           ๕.๑.๔    ๔อ อนามัย สังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย จิตใจ พบระยะเริ่มต้น การรักษาได้ผลดี           ๕.๑.๕    ๕อ แสงอาทิตย์ รับแดดยามเช้าอย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที ช่วยป้องกัน ชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน           ๕.๑.๖    ๖อ อารมณ์ ควบคุมอารมณ์ การทำสมาธิ ช่วยให้ผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น           ๕.๑.๗    ๗อ อดิเรก หางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์           ๕.๑.๘    ๘อ อบอุ่น โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ครอบครัวและคนอื่น เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน           ๕.๑.๙    ๙อ อุจจาระ/ปัสสาวะ ป้องกันท้องผูก คือ กินผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มากๆ           ๕.๑.๑๐ ๑๐อ อุบัติเหตุ ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ สายตายาวใส่แว่นสายตา หูได้ยินไม่ชัดต้องไปตรวจ           ๕.๑.๑๑ ๑๑อ อนาคต เตรียมเงิน ที่อยู่อาศัย เป็นหลักประกันในการใช้ชีวิตเมื่อสูงอายุ และรับสมัครอาสาสมัครแกนนำผู้สูงอายุ ๒-๓ คนในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนให้ทำหน้าที่กระตุ้น/ชักจูงและติดตามผู้สูงอายุในชุมชนให้เดินหรือถีบจักรยานเป็นกลุ่ม ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน วันละ ๓๐ นาที และเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ ๕ วันหรือมากกว่า อย่างน้อย ๖ เดือน  และติดตามผู้สูงอายุให้ออกกำลังด้วยการเดินหรือถีบจักรยานบริเวณย่านที่อยู่อาศัย/ชุมชน     ๕.๒ จัดกิจกรรมการแสดงมหกรรมสุขภาพด้วยการเต้นบาสโลปของแต่ละหมู่บ้าน   ๖. อาสาสมัครแกนนำผู้สูงอายุนัดหมาย กระตุ้น/ชักจูงและติดตามผู้สูงอายุให้ออกกำลังด้วยการเดินหรือถีบจักรยานบริเวณย่านที่อยู่อาศัยในแต่ละหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกลุ่มหรือเดี่ยว ตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล โดยเริ่มจากความเป็นไปได้ จากสัปดาห์ละ ๑-๓ วัน วันละ ๑๕-๓๐ นาที เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ ๕ วันหรือมากกว่า ภายใน ๓-๔ เดือน และคงต่อเนื่อง อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที สัปดาห์ละ ๕ วัน ในเดือนที่ ๕ และ ๖ และต่อเนื่องต่อไป   ๗. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่มี smart phone ติดตั้ง application สำหรับ การเดิน (step counter, pedometer ฯลฯ) การถีบจักรยาน (bike / cycling app / Endomondo app) เพื่อใช้ในการบันทึกและติดตามการออกกำลังของตนเอง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลให้กับอาสาสมัครแกนนำผ่านทาง smart phone ได้ หรือส่งข้อมูลให้อาสาสมัครแกนนำบันทึก
  ๘. อาสาสมัครแกนนำผู้สูงอายุจดบันทึกจำนวนผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายวิธีใดวิธีหนึ่งทุกวัน
  ๙. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดอน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุตำบลดอนเกิดทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
๒.ผู้สูงอายุตำบลดอนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 00:00 น.