กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความรอบรู้ของนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3312-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 5,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนูจิน คงเหล่ , นางฉ้าย เหมือนศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรงเรียนยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมสุขภาพตามแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อปฏิบัติประการหนึ่งเกี่ยวกับพื้นฐานการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีก็คือ “สุขบัญญัติแห่งชาติ” กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อกำหนดที่เป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพคือ สุขบัญญัติเป็นข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรืออันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้ายแรงตามมาภายหลัง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ และเพื่อการมีสุขภาพที่ดี จึงต้องปฏิบัติตามสุขบัญญัติ ทั้ง 10 ประการ อย่างต่อเนื่องจนเป็นสุขนิสัย การปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในเด็กและเยาวชนจึงมีความสำคัญยิ่ง เด็กและเยาวชนจะได้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงต่อไป

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ได้เล็งเห็นความสำคัญในปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ในเด็กและเยาวชน จึงได้จัดโครงการ “โครงการพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติปีงบประมาณ 2566” เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ตามหลักปฏิบัติสุขบัญญัติแห่งชาติ ๑๐ ประการ อย่างถูกต้อง ได้แก่ 1) ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด 2) รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง3) ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย4) กินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด5) งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ 6) สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น7) ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 8) ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี 9) ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 10) มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามแนวทางโรงเรียนสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ร้อยละระดับความรอบรู้ของนักเรียนตามแนวทางโรงเรียนสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

80.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนดำเนินกิจกรรมสุขภาพตามแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ

ร้อยละโรงเรียนผ่านเกณฑ์มารตฐานโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับดี

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,300.00 2 5,300.00
15 ก.ย. 66 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
15 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนสำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ 0 4,300.00 5,300.00
15 ก.ย. 66 กิจกรรมติดตามการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ในโรงเรียนวัดท่าควาย 0 0.00 -
15 ก.ย. 66 กิจกรรมประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ ๒ 0 1,000.00 0.00
15 ก.ย. 66 สรุปผลโครงการ 0 0.00 -
16 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์เรื่องพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ในรายละเอียด 10 ประการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 3 องค์ประกอบ 38 ข้อในระดับดีและดีมากเพิ่มขึ้น
  2. โรงเรียนผ่านมาตรฐานส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2566 09:33 น.