กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน 20 ธ.ค. 2565 20 ธ.ค. 2565

 

  1. วิทยากรจาก สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.บุรีรัมย์ บรรยายให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะแต่ละประเภท
  2. สาธิตการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และการจัดการขยะแต่ละประเภท
  3. สาธิตการจัดการขยะเปียกและขยะอินทรีย์ การทำน้ำหมักจุลรินทรี
  4. สาธิตการทำถังขยะเปียก ขยะอินทรีย์ หรือการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้ทำถังขยะเปียก และการขยาย EM
  5. สรุปผลและจัดทำข้อมูลครัวเรือนต้นแบบขยะเปียกประจำหมู่้บาน

 

  1. มีตัวแทนหมู่บ้านที่สามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน/หมู่บ้าน จะดำเนินการจัดการขยะเปียกขยะอินทรีย์อย่างถูกวิธีและสามารถใช้ประโยชน์ได้
  2. เกิดครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะเปียกขยะอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 220 ครัวเรือน และดำเนินการขยายผลสร้างครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน
  3. ข้อมูลครัวเรือนต้นแบบเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้
  4. ระบบการสนับสนุนการจัดการขยะของตำบล

 

ติดตามประเมินผล ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน 6 ม.ค. 2566 6 ม.ค. 2566

 

  1. คณะกรรมการประเมินผลประจำตำบล ลงพื้นที่รับผิดชอบทีมละ 8 หมู่บ้าน ร่วมกับคณะกรรมการประเมินผลระดับหมู่บ้าน วางแผนลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินผลครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้าน
  2. คณะกรรมการตรจประเมินผลร่วมดำเนินการประเมินครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะใช้เวลา 5 วัน ให้ครบทั้ง 16 หมู่บ้าน
  3. คณะกรรมการตรวจประเมินผลร่วมประชุมรวบรวมคะแนนและจัดทำข้อมูลครัวเรือนต้นแบบ 4. ประกาศผลคัดเรือนต้นแบบคัดแยกขยะประจำหมู่บ้าน

 

  1. มีการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจประเมินผลประจำตำบลและคณะกรรมการประเมินผลประจำหมู่บ้าน 58 คน ทุกคนมีความเข้าใจเกณฑ์ตัวชี้วัดประเมินผลคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ
  2. ชุมชนเห็นความสำคัญการส่งเสริมสนับสนุนการคัดแยกขยะเปียกขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือน
  3. มีครัวเรือนเกดความสนใจร่วมดำเนินการคัดแยกขยะ พร้อมที่จะเรียนรู้และเป็นครัวเรือนขยายผล

 

อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ น้ำหมักจุลรินทรีย์ 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

  1. วิทยากรจาก สนง.เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ และปราช์ชาวบ้านกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ และน้ำหมักจุลรินทร์จากเศษอาหาร
  2. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การทำปุ๋ยหมัก เช่น พด.1 หัวเชื่อน้ำหมักจุลรินทรีย์ และอุปกรณ์ถุงหมัก
  3. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการติดตามสนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักในระดับหมู่บ้าน

 

  1. ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะมีการพัฒนาและเรียนรู้การคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อพัมนาเป็นแหล่งเรียนรู้ระดับหมู่บ้านต่อไป
  2. เกิดครัวเรือนต้นแบบที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้อย่างน้อย 5 ครับเรือน