กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสะอาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะเปียก ขยะอินทรีย์ สร้างสารพัดประโยชน์ในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสะอาด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

1. นายณัฐพัฒน์นันใจยะ
2. นางสาวเนตรนภา ชลอชน
3. นางสาวกิตติยา ที่รัก

ตำบลโคกสะอาด (ทั้ง 16 หมู่บ้าน) อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

84.85
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

68.69

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

84.85 85.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

68.69 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมตัวแทนผู้นำชุมชน (อสม. ส.อบต. ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าคุ้มบ้าน) หมู่บ้านละ 10 คน รวม 220 คน/ครัวเรือน ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. วิทยากรจาก สนง.ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.บุรีรัมย์ บรรยายให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะแต่ละประเภท 2. สาธิตการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และการจัดการขยะแต่ละประเภท
3. สาธิตการจัดการขยะเปียกและขยะอินทรีย์ การทำน้ำหมักจุลรินทรี
4. มอบถังกำจัดขยะเปียกขยะอินทรีย์จำนวน 220 ถัง (ครัวเรือนต้นแบบละ 1 ถัง) และ EM

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดแกนนำหมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 10 ครัวเรือน จะดำเนินการจัดการขยะเปียกขยะอินทรีย์อย่างถูกวิธีและสามารถใช้ประโยชน์ได้
  2. เกิดครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะเปียกขยะอินทรีย์ ไม่น้อยกว่า 220 ครัวเรือน และดำเนินการขยายผลสร้างครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 40 ครัวเรือน
  3. ข้อมูลครัวเรือนต้นแบบเพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผล ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ สร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการประเมินผลระดับตำบล ชุดละ 5 คน (แบ่งเป็น 2 ชุด) คณะกรรมการประเมินผลประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน ครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านละ 10 ครัวเรือน รวมทั้งตำบล 220 ครัวเรือน
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. คณะกรรมการประเมินผลประจำตำบล ลงพื้นที่รับผิดชอบทีมละ 8 หมู่บ้าน ร่วมกับคณะกรรมการประเมินผลระดับหมู่บ้าน วางแผนลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมินผลครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้าน
2. คณะกรรมการตรจประเมินผลร่วมดำเนินการประเมินครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะใช้เวลา 5 วัน ให้ครบทั้ง 16 หมู่บ้าน
3. คณะกรรมการตรวจประเมินผลร่วมประชุมรวบรวมคะแนนและจัดทำข้อมูลครัวเรือนต้นแบบ 4. ประกาศผลคัดเรือนต้นแบบคัดแยกขยะประจำหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจประเมินผลประจำตำบลและคณะกรรมการประเมินผลประจำหมู่บ้าน 58 คน ทุกคนมีความเข้าใจเกณฑ์ตัวชี้วัดประเมินผลคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะ
  2. ชุมชนเห็นความสำคัญการส่งเสริมสนับสนุนการคัดแยกขยะเปียกขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือน
  3. มีครัวเรือนเกดความสนใจร่วมดำเนินการคัดแยกขยะ พร้อมที่จะเรียนรู้และเป็นครัวเรือนขยายผล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ น้ำหมักจุลรินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ น้ำหมักจุลรินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนต้นแบบหมู่บ้านละ 5 ครัวเรือน รวม 80 คน ทีมวิทยากร5 คนทีมดำเนินงาน5 คน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วิทยากรจาก สนง.เกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ และปราช์ชาวบ้านกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ และน้ำหมักจุลรินทร์จากเศษอาหาร
2. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การทำปุ๋ยหมัก เช่น พด.1 หัวเชื่อน้ำหมักจุลรินทรีย์ และอุปกรณ์ถุงหมัก
3. สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนการติดตามสนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักในระดับหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครัวเรือนต้นแบบคัดแยกขยะมีการพัฒนาและเรียนรู้การคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อพัมนาเป็นแหล่งเรียนรู้ระดับหมู่บ้านต่อไป
  2. เกิดครัวเรือนต้นแบบที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้อย่างน้อย 5 ครับเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดครัวเรือนต้นแบบคัดแยกการขยะเปียก ขยะอินทรีย์ หมู่บ้านละไม่น้อยกว่า 15 ครัวเรือน
2. ครัวเรือนต้นแบบสามารถทำน้ำหมักจุลรินทรีย์จากขยะเปียกขยะอินทรีย์ และนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
3. มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการจัดการขยะของชุมชน เช่น น้ำหมักจุลรินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ดินปลูก เป็นต้น
4. เกิดการร่วมกลุ่มจัดการขยะชุมชนและมีการพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน


>