กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม ลดโรคติดต่อเรื้อรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 8/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านกีเย๊าะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 27 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2566
งบประมาณ 58,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกูดิง มูละซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนตำบลกรงปินัง ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ  เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน    โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ตัน เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดสมองแตก ไตวาย ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารไม่สมดุล เกินความต้องการของร่างกาย และเป็นอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนสะสมในผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้ง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป นิยมอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งอาหารตามร้านนอกบ้านที่ปรุงอาหารคำนึงถึงแต่รสชาติแต่ไม่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค การขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อย อ้วน มีความเครียด เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ซึ่งในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากการควบคุมและป้องกันโรค  ไม่ติดต่ออื่นๆ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดโรคเรื้อรังนี้ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีระยะเวลาของการฟักตัวของโรคที่ยาวนาน อาการของโรคไม่ปรากฏชัดเจน จนกระทั่งมาถึงพัฒนาการของโรคในขั้นที่มีผลรุนแรงต่อร่างกาย เมื่อเป็นโรคเหล่านี้แล้วนั้น ส่วนใหญ่จะไม่หายขาด อีกทั้งพยาธิสภาพในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับคืนมายังสภาพปกติได้อีกเลย ซึ่งในกระบวนการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เริ่มตั้งแต่การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดของของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ หมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ซึ่งผลจากการคัดกรองจะแบ่งกลุ่มได้เป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และ  กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยในกลุ่มปกติ จะเน้นการส่งเสริมการปฏิบัติตัวให้ดีต่อไป สำหรับกลุ่มเสี่ยง จะมีระบบส่งต่อโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ของสถานบริการ สำหรับกลุ่มป่วย จะได้รับการบริการ    ในคลินิก    โรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของสถานบริการเช่นกัน ซึ่งนอกจากกระบวนการรักษาโรค  ไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีในสถานบริการแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพในระดับชุมชน หรือหมู่บ้าน  โดยการนำเสนอสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ชุมชนได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ตลอดจนเพื่อให้ชุมขนได้มีส่วนร่วมช่วยกันวิเคราะห์ สาเหตุของปัญหา และกำหนดกิจกรรมแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน ด้วยความร่วมมือและการบูรณการของทุกฝ่ายที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตลอดจน  ลดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของโรคดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 5 บ้านอุเผะ  ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีบุคลากรผู้ดำเนินงานทุกระดับในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา อสม. เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2566 เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมกัน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

 

2 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกัน วิเคราะห์ สาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และร่วมกันนำเสนอ กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยชุมชนเอง

 

3 เพื่อส่งเสริมให้มีชมรมออกกำลังกายในหมู่บ้าน

 

4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับประทานผักเพิ่มมากขึ้นและเห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประสานงานภาคีเครือข่าย และผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำรพ.สต.บ้านอุเผะ เพื่อเขียนโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง 2.2 ทำหนังสือแจ้งเชิญประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2566 จากแกนนำทั้ง 5 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 2 บ้านตะโละซูแม หมู่ที่ 3 บ้านบราแง หมู่ที่ 4 บ้านกีเย๊าะ หมู่ที่ 5 บ้านอุเผะ และหมู่ที่ 6 บ้านยะยือริ จำนวน รวมเป็นจำนวน 35 คน 2.3 เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ คืนข้อมูลสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ประชาชนในชุมชนได้รับทราบ และร่วมกัน วิเคราะห์ กำหนดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และสอดคล้องความต้องการของชุมชน 2.4 วิทยากรรับเชิญ บรรยายในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ สร้างความเข้าใจ กินอาหารเป็นยา สร้างหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม ฯ จำนวน 5 วันๆ ละ 1 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 30 คน
2.4 อสม.เป็นแกนนำการออกกำลังกายในหมู่บ้านที่ศสมช.แต่ละหมู่ เพื่อให้ประชาขนในหมู่บ้านได้มีเคลื่อนไหวออกกำลังกายอย่างเป็นรูปธรรม หรือชมรมออกกำลังกายที่มีในหมู่บ้าน 2.5 จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยการแจกพันธ์ผัก 3 อย่าง ได้แก่ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง หรือผักที่ได้จากการเสนอในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ให้แก่ประชาชน หมู่ที่ 3  บ้านบราแง จำนวน 30 หลังคาเรือนที่สนใจ (หมู่ที่ 3 บ้านบราแง มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด จำนวน 285 หลังคาเรือน ) 2.5 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ และสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น
  2. ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกัน วิเคราะห์ หาสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และร่วมกันนำเสนอ กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  3. ประชาชนในหมู่บ้านได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
  4. ประชาชนในหมู่บ้านเห็นความสำคัญของการรับประทานผักเพิ่มมากขึ้น และมีการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้านเพิ่มมากขึ้น
  5. กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนลดลง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 11:59 น.