กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการระแงะ 5 มิตรพิชิตฟันดี โรงเรียนบ้านกาลิซา
รหัสโครงการ 66-L2502-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกาลิซา
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มิถุนายน 2566 - 27 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 62,683.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะมะแอน วรรณาการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 166 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 597 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กนักเรียนตามระบบรายงานเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 พบว่า เด็กนักเรียนมีปัญหาคราบหินปูนและฟันถาวรผุ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสภาพของปัญหาทางทันตสุขภาพในนักเรียนที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สาเหตุสำคัญของปัญหาเนื่องจากขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟัน ทั้งจากตัวนักเรียนเอง จากครอบครัว และทางโรงเรียนยังขาดการสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อเด็ก เช่น เด็กขาดเรียน มีเวลาเรียนไม่พอ ทำให้สอบตกซ้ำชั้นได้ เมื่อพิจารณาถึงวิธีในการแก้ไขปัญหาทางทันตสุขภาพ พบว่า การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนดูแลและทำความสะอาดช่องปากด้วยตนเอง โดยการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การสอนทันตสุขศึกษาในโรงเรียน และการรับบริการทันตกรรม ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียน รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของการสร้างสุขภาพที่ดีในอนาคตด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการระแงะ 5 มิตรพิชิตฟันดี ขึ้นเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนและชุมชน ได้ตระหนักถึงปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางทันตสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ทางทันตสุขภาพและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

นักเรียนได้รับความรู้ทางทันตสุขภาพและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในระบบช่องปากและฟันของเด็กนักเรียน

นักเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดี ไม่มีฟันแท้ผุ

3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาทางทันตสุขภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

นักเรียนนำความรู้ทางทันตสุขภาพไปขยายผลสู่คนในครอบครัวและชุมชน

4 เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของนักเรียนในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน

นักเรียนมีเจตคติที่ดี และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ

1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นอนุบาล ชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนบ้านกาลิซา
1.2 ศึกษาข้อมูลทางทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนในรอบปีที่ผ่านมา 1.3 ประชุมผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการ แก้ไขปัญหา 1.4 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 1.5 ขออนุมัติโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา 1.6 ประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อแจ้งแผนการดำเนินงานของโครงการ 1.7 ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาลิซา เพื่อขอสนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้ความรู้กับนักเรียน

2.ขั้นดำเนินการ

2.1 แปรงฟันหลังอาหาร - ให้ความรู้ทางทันตสุขภาพแก่นักเรียนทุกคน - จัดให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ทุกวัน โดยมีผู้นำนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลและบันทึกผลการแปรงฟันทุกวัน - ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนติดตามนิเทศการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
- สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. จำนวนเด็กนักเรียนที่มีปัญหาทางสุขภาพช่องปากและฟันมีจำนวนลดลง
  3. ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาทันตสุขภาพและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
  4. นักเรียนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2566 10:32 น.