กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ครวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุบ้านคลองช้าง ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L2975
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านคลองช้าง
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,565.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิโรจน์ หนูบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.732,101.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศทุกวัย จาก การศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จากแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมี สุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในการเตรียม ความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคน ตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ที่ดี ขึ้น ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของ ร่างกายตามวัย รวมไปถึงผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะพึ่งพา ไม่ สามารถช่วยเหลือตัวเอง หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และอาจมีภาวะที่ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล ทำ ให้เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข จึงควรให้ความสำคัญกับ ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ฟื้นฟูสุขภาพ สามารถควบคุมภาวะของโรคเหล่านั้นให้มี อาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต       ประชากรผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของ กระทรวงสาธารณสุขทุกคน ตรวจและผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ ๙๕ โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพ เช่น การ ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) ภาวะโรคซึมเศร้า การทดสอบสมรรถภาพสมอง ตรวจประเมินข้อเข่าเสื่อม การตรวจภาวะหกล้ม ตรวจสุขภาพช่องปาก การคัดกรองดัชนีมวลกาย(BMI) ภาวะสมองเสื่อม โดยจะมีการตรวจคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรายที่มีภาวะเสี่ยงในบางเรื่อง และจากการคัด กรองด้วยแบบสอบถามจากอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๕ บ้านคลองช้าง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกอ้น ได้มีการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ ซึ่งทำให้ได้ทราบ ถึงแนวโน้มในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมถึงวางแผนในการดูแลรักษา ส่งต่อผู้สูงอายุ ได้อย่างเชื่อมโยง และเป็นระบบ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตประจำวันตามศักยภาพได้อย่างมีคุณภาพ ลดภาระครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป       ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ ๕ บ้านคลองช้าง จึงเห็นความสำคัญของการดำเนินงาน คัดกรองประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งกำหนดไว้ตามตัวชี้วัดไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ที่ได้รับการตรวจคัดกรอง จึงได้ จัดทำโครงการโครงการ ตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุบ้านคลองข้าง ปีงบประมาณ๒๕๖๖

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ ในกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุรายใหม่ทุกรายได้รับการขึ้นทะเบียนและรับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3. ผู้สูงอายุได้รับการส่งต่อกรณีที่เจอปัญหาด้านสุขภาพและตรวจวินิจฉัยโดยเจ้าหน้าที่สาธารสุขต่อไป

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ประชาชนรู้สถานะสุภาพของตนเอง
๒. ประชาชนรู้สถานะสุภาพของตนเอง ๓. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้สงสัยป่วยได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2566 11:15 น.