กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ และการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2502-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหะมะสักรี มะวี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) และกลุ่มอาการ  ปอดบวมจากโรงพยาบาลเครือข่ายของกรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–13 พฤษภาคม 2566 ได้รับตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 3,444 ราย ผลตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ 326 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.47 แยกเป็นชนิด A/H3N2 จำนวน    166 ราย (ร้อยละ 50.92) ชนิด B จำนวน 95 ราย (ร้อยละ 29.14) และชนิด A/H1N1 (2009) จำนวน 65 ราย (ร้อยละ 19.94) ในสัปดาห์ที่ 19 (ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม–13 พฤษภาคม 2566) ได้รับตัวอย่าง ผู้ป่วยส่งตรวจทั้งสิ้น 177 ราย จากโรงพยาบาลเครือข่าย 12 แห่ง พบให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.47 โดยเป็นชนิด A/H1N1 (2009) ทั้ง 6 ราย (ร้อยละ 100) และอยู่ระหว่างรอผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ 4 ราย จากการติดตามอาการผู้ป่วยทั้ง 177 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต จากการเฝ้าระวังเหตุการณ์จากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–13 พฤษภาคม 2566      มีรายงานเหตุการณ์การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สะสม 16 เหตุการณ์ จากจังหวัดร้อยเอ็ด แพร่ จังหวัดละ    2 เหตุการณ์ รองลงมาเป็น สงขลา อุดรธานี เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน พะเยา สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปทุมธานี เพชรบุรี และนราธิวาส จังหวัดละ 1 เหตุการณ์ ในสัปดาห์ที่ 19 (ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม–13 พฤษภาคม 2566) มีรายงานเหตุการณ์ การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 1 เหตุการณ์ ดังนี้ 1) ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 36 ราย ในค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดนราธิวาส เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ด้วยอาการไอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดข้อ และปวดศีรษะ ดำเนินการ เก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 8 ราย อยู่ระหว่างรอผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการคาดว่ามีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ประชาชนควรดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และโรคโควิด 19 โดยการ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในบริเวณที่ชุมชน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวรวมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ และเมื่อมีอาการป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ (กรมควบคุมโรค,2566)

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หลายท่านอาจคิดว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้ กลุ่มคนที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายได้ง่าย ซึ่งสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้ใหญ่อายุ  ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่น โรคหอบหืด โรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน โรคของกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯ โรคปอดเรื้อรัง      ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเลือด โรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆ โรคไต โรคตับ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่ ไข้หวัดใหญ่มักแสดงอาการที่อาจทำให้ท่านสับสนกับไข้หวัดทั่วไป โดยอาการแสดงเด่นๆ ที่อาจทำให้ท่านสงสัยได้ว่าตนเองติดเชื้อไวรัส  ไข้หวัดใหญ่สัญญาณเตือนไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ ไอแห้ง มีน้ำมูกคัดจมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้สูง    การแพร่กระจายของเชื้อ สามารถแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือ ใช้ของใช้ร่วมกัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่  ให้สะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัดหรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องการการติดเชื้อ ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา เล็งเห็นถึงปัญหาการการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปี 2566 เพื่อลดความเสี่ยง และป้องกันการแพร่ระบาดของดรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ การปฏิบัติตนในการป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

สามารถป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ได้ ร้อยละของ ปชช.   : ปชช. มีการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

2 เพื่อให้ประชาชนฉีดวัคซีนกระตุ้นป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละของ ปชช.   : ปชช. ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีดำเนินงาน
1 เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการฯ 3 ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น อบต.กาลิซา, กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
4จัดดำเนินงานโครงการฯ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ -ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ตามจุดที่วางไว้ หมู่ที่ 1 จำนวน 8 จุด
หมู่ที่ 2 จำนวน 15 จุด
หมู่ที่ 3 จำนวน 10 จุด
หมู่ที่ 4 จำนวน 5 จุด
หมู่ที่ 5 จำนวน 12 จุด
หมู่ที่ 6 จำนวน 10 จุด
- แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์การรณรงค์เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ตามครัวเรือน ในพื้นที่ตำบลกาลิซา 5 รายงานผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนสามารถป้องกัน และเฝ้าระวังตนเองจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 ประชาชนได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 11:28 น.