กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนลดหวานมันเค็ม เติมเต็มผักผลไม้
รหัสโครงการ 66-L1485-1-39
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาทิยา สวัสดิรักษา ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ รพ.สต.บ้านลำปลอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยสังคมปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ การเติบโตของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้วิถีชีวิตประชาชนมีความเร่งรีบ ขาดความเอาใจใส่ดูแล ควบคุม และป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือย นิยมทานอาหารที่มีส่วนประกอบหลักแป้ง น้ำตาล ไขมัน ผงชูรสและเกลือมากขึ้น แต่มีการรับประทานผักผลไม้น้อยลง ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียดเรื้อรัง ไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น จากการบริโภคที่เกินจำเป็น ขาดความสมดุลของพลังงานเข้าและออกในร่างกาย จึงไม่สามารถควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก 5 โรคดังกล่าว ปีละ 97,900 คน หรือใน 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ที่มีปีละประมาณ 3 แสนคน โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด โรคอ้วน ดรคเรื้อรังดังกล่าวต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลำปลอก มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน90 คน และมีแนวโน้มรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มักขาดความรู้ในการปฏิบัติตน พฤติกรรมในการบริโภค เป็นเหตุให้ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตไม่ได้ ทางรพ.สต. จึงได้เห็นความสำคัญของโรคเรื้อรังดังกล่าว และจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ป่วยเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง สนใจดูแลสุขภาพตนเองและตระหนักอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 2.1 สำรวจข้อมูลของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ       2.2 จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา       2.3 จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการออกติดตาม ตรวจสอบและพัฒนาความสามารถในการดูแลปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง
      2.4 ดำเนินการตามโครงการ 2.4.1 ประเมินภาวะโภชนาการ วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก 2.4.2  สำรวจปริมาณการใช้น้ำตาล น้ำมัน เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส เป็นต้น 2.4.3  จัดอบรมความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร       2.5 สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) กลุ่มโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นจากเดิม (เกณฑ์ร้อยละ 40 )   (2) กลุ่มความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันได้ดีขึ้นจากเดิม (เกณฑ์ร้อยละ 50 )   (3) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคน้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 15:36 น.