กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 66-L1485-1-43
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐวรา ปราบแทน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากร โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในกลุ่มประชากรอายุ 30-79 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1.3 พันล้านคน และมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้นแต่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ และยังพบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร         สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการดูแลรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้น อาจแสดงอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ แต่หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตพร้อมติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น และจะลดภาวะแทรกซ้อน ที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจะสนับสนุนให้มีเครื่องวัดความดันโลหิตในพื้นที่สาธารณะ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการวัดความดันโลหิตมากขึ้น สร้างความตระหนักและสร้างการรับรู้ต่อสุขภาพของตนเอง มุ่งเน้นให้ประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างถูกวิธีและทราบระดับความดันโลหิตของตนเอง (ที่มา : กรมอธิบดีควบคุมโรค, 17 พค.64)     จากสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านลำปลอก พบว่าในปี 2564 มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 278 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.76 ปี 2565 จำนวน 274 รายคิด 64.16 และในปี 2566 จำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.00 ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า ประชาชนจำนวนมากมีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมีแนวโน้มว่าประชาชนที่เป็นความเสี่ยงสูงเหล่านี้ มีโอกาสเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตรายใหม่ ซึ่ง อสม.นั้นถือได้ว่าเป็นบุคลากรหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นทาง รพสต.บ้านลำปลอกจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ ของ อสม.ให้มีความรู้ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือในการคัดกรอง จึงได้มีการจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตเพื่อให้ อสม.ทั้งรายเก่าและรายใหม่ได้ มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงหรือสงสัยต่อการเป็นโรค        ความดันโลหิตสูงในชุมชนได้รับการดูแลรักษา ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน และประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรค Metabolic อีกทั้งสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และให้ได้รับการดูแลรักษาทันที เพื่อลดความรุนแรงของโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ อสม.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูง

 

2 ๒. เพื่ออบรม ฟื้นฟู ทักษะการใช้เครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

 

3 3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงหรือสงสัยต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลรักษา ส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

 

4 4. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรค Metabolic

 

5 5. เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และให้ได้รับการดูแลรักษาทันที เพื่อลดความรุนแรงของโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติและการขอใช้งบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ
            2.1 ประสานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามโครงการ         2.2 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ คณะทำงานควบคุมโรค ผู้นำชุมชน และขอความร่วมมือในการดำเนินงาน 2.3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการวัดความดันโลหิต การคำนวณดัชนีมวลกาย ภาวะโรคอ้วน     2.4 อสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพสต. บ้านลำปลอกทุกราย ลงพื้นที่โครงการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชน พร้อมทั้งชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว เดือนละ 1 ครั้งตามแผน (เอกสารที่แนบ)     - ค่าความดันต่ำกว่า 90/60 mm/Hg ทางอสม. ประสานส่งต่อ รพ.สต.ในพื้นที่

- ค่าความดันอยู่ระหว่าง 90/60 – 120/80 mm/Hg ใช้ชีวิตปกติ แต่ตรวจวัดความดันโลหิตอยู่เสมอ - ค่าความดันโลหิตเกิน 120/80 mm/Hg ทางอสม. ประสานส่งต่อ รพ.สต.ในพื้นที่
    2.5 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคความดันโลหิตสูง
  2. อสม.มีทักษะการใช้เครื่องมือในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
  3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงหรือสงสัยต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลรักษา และสามารถส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
  4. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาวะโรค Metabolic
  5. สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และให้ได้รับการดูแลรักษาทันที ลดอัตราการเกิดความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 16:12 น.