กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู(Leptospirosis)
รหัสโครงการ 66-L1485-2-45
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขอของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 9,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฤทธิพร แก้วพิทักษ์ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านลำปลอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งในพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ เกษตรกร ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ และ มีน้ำขังเป็นจำนวนมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ โรคฉี่หนูมักจะมาช่วงฤดูฝน โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว เนื่องจากต้องเดิน ย้ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่อง อย่างมาก คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลือเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้     จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สถานการณ์ โรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) หรือโรคไข้ฉี่หนู ในเขตสุขภาพที่ 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 28 สิงหาคม 2565 จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาได้รับรายงานมีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส จำนวน 296 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 6.46 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต ในจังหวัดตรัง 2 ราย (อ.เมือง 1 ราย อ.ปะเหลียน 1 ราย) และจากการรายงานพบผู้ป่วยเพศชาย มากกว่า เพศหญิง โดยพบเพศชาย 238 ราย เพศหญิง 58 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55-65 ปี และ 25-34 ปี สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือรับจ้าง ร้อยละ 30.07 รองลงมาคือ อาชีพเกษตร ร้อยละ 28.38 และอาชีพนักเรียน ร้อยละ 23.31 พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนพฤษภาคม จำนวน 68 ราย จากการรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอกพบว่าในปี 2565 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 3 รายและคาดว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้น
ดั้งนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก มีความห่วงใยสุขภาพ ประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการอบรม ให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนู(Leptospirosis) ขึ้นให้กับประชาชนในของพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอกทั้ง 4 หมู่บ้าน ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนแก่นนำสุขภาพแต่ละหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเอง

 

2 2. เพื่อลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส

 

3 3. เพื่อให้ อสม./อบต./กรรมการ/ ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 ร่วมกันประชุมวางแผนจัดทำแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 1.3 ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.4 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส, รณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค     2.2 สอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว     2.3 จัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้องในหมู่บ้าน
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส สามารถป้องกัน และกำจัดพาหะนำโรคได้     2. ครัวเรือนมีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    1. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 16:24 น.