กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพด้วยวิถีแผนไทย
รหัสโครงการ 66-L1485-2-46
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 8 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฤทธิพร แก้วพิทักษ์ ประธานชมรม อสม. รพ.สต.บ้านลำปลอก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน ถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่มีมาแต่โบราณ เกิดจากสัญชาตญาณเบื้องต้นของการอยู่รอด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่วย ตนเองหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมักจะลูบไล้บีบนวดบริเวณดังกล่าว ทำให้อาการปวดเมื่อยลดลง เริ่มแรกก็เป็นไปโดยมิได้ตั้งใจ แต่ต่อมาเมื่อได้เริ่มสังเกตเห็นผลของการบีบนวดในบางจุด หรือบางวิธีที่ได้ผล จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์ และกลายเป็นความรู้ที่สืบทอดกันต่อๆ มา จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความรู้ที่ได้จึงสะสมจากลักษณะง่ายๆ ไปสู่ความสลับซับซ้อน จนสามารถสร้างเป็นทฤษฎีการนวด และกลายมาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีบทบาทบำบัดรักษาอาการและโรคบางอย่าง หรือแม้กระทั้งในปัจจุบันที่ผู้คนหันมาสนใจด้านสมุนไพรมากขึ้น จากการทานยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการและรักษาอาการจากโรคโควิด19 ก็เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางศาสตร์และศิลป์ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ที่ควรจะถูกส่งต่อ สร้างความเข้าใจ และนำมาปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรมากขึ้น ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านลำปลอก จึงจัดทำ “โครงการเสริมสร้างสุขภาพด้วยวิถีแผนไทย” เพื่อช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านมากขึ้น สามารถนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อป้องกันและลดการเกิดการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆ รวมทั้งเพื่อบำบัดอาการที่เป็นอยู่หรือแม้กระทั่งส่งเสริมให้ผู้อื่นมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน อีกประการหนึ่งอันเนื่องด้วยชุมชนตำบลบ้านลำปลอกล้วนประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นสวนผลไม้และสวนยางพารา ซึ่งทำให้อัตราการเจ็บป่วยด้วยอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสามารถพบได้ในคนทุกกลุ่มวัย ซึ่งหากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเองมากขึ้น ย่อมทำให้อัตราการเจ็บป่วยลดลง ซึ่งจะถือเป็นเรื่องดีทั้งต่อชุมชนและต่อประชากรต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างแกนนำชุมชนให้มีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทยโดยใช้สมุนไพร

 

2 2. เพื่อให้เกิดทักษะด้านการนวดแผนไทย สามารถนำไปใช้รักษาโรคเบื้องต้นได้

 

3 3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการผลิตและใช้สมุนไพรในท้องถิ่น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 สำรวจข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชน ในพื้นที่เขตรับผิดชอบ       2.2 จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา       2.3 จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ       2.4 ดำเนินการตามโครงการ 2.4.1 จัดอบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านการใช้สมุนไพร การทำผลิตภัณฑ์ และการนวด 2.4.2  ฝึกปฏิบัติด้านการทำยาสมุนไพร และการนวดแผนไทย       2.5 สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) มีแกนนำชุมชนให้มีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทยโดยใช้สมุนไพร   (2) ประชาชนมีทักษะด้านการนวดแผนไทยสามารถนำไปใช้รักษาโรคเบื้องต้นได้ (3) ประชาชนมีองค์ความรู้เรื่องการผลิตและใช้สมุนไพรในท้องถิ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 16:29 น.