กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินดี มีสุข
รหัสโครงการ 66-L3008-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบาตะกูโบ
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 35,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเราะมาน ปาโฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคอบน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.73,101.352place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านบาตะกูโบเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลสาคอบน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94140 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จัดการศึกษาระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนจำนวน 5 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านสาคอ หมู่บ้านตูหยง หมู่บ้านจือเนาะ หมู่บ้านปูลาบือรานิง และหมู่บ้านบาตะกูโบโรงเรียนบ้านบาตะกูโบ มีเนื้อที่  4 ไร่ มีนักเรียนทั้งสิ้น 240 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 24 คน โดยนักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย เนื่องจากผู้ปกครองต้องไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัดเพื่อหารายได้ให้แก่ครอบครัว
จากปัญหาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนที่ต้องต่อสู้กับปัญหาความยากจน หาเช้ากินค่ำ และความรีบเร่งในการทำงานทำให้ขาดการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ทำให้ละเลยการบริโภคอาหารของบุตรหลานว่าได้รับประทานอาหารครบทุกมื้อหรือไม่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือไม่ รวมทั้งขาดการแนะนำส่งเสริมการให้ความรู้และปลูกฝังเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าให้บุตรหลานและทำให้บุตรหานของตนเองต้องจัดหาอาหารมื้อเช้าเอง ที่บ้านหรือที่โรงเรียนในตอนเช้าเกือบทุกวัน ทำให้นักเรียนซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์มาทาน เช่น ลูกชิ้นทอด ข้าวเกรียบทอด ขนมกรุบกรอบ และบางคนยังรับประทาน น้ำอัดลมหรือโอวัลติน เป็นอาหารเช้า ซึ่งล้วนไม่มีผักหรือผลไม้ ส่วนมื้อกลางวันนักเรียนจะได้รับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดขึ้นโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงอาหารอาหารกลางวันจากองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดจึงทำให้จัดเตรียมอาหารไม่ครบหมู่ สำหรับอาหารมื้อเย็นจะเป็นอาหารที่ไม่ครบหมู่เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เป็นต้น ส่วนระหว่างมื้อนักเรียนจะซื้อขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลมจากร้านค้าที่จำหน่ายในหมู่บ้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบปัญหาสุขภาพ จากปัญหาด้านสุขภาพและการรับประทานอาหารของนักเรียนดังกล่าวโรงเรียนจึงทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อบริหารจัดการเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียนโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรภายในท้องถิ่นรวมทั้งผู้ปกครองส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียนได้กินอาหารที่สะอาด ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และปลอดสารพิษและสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ปกครองในการใส่ใจการบริโภคของลูกหลาน เพื่อที่นักเรียนจะได้รับสารอาหารและวิตามินที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและสมอง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆและได้รับความรู้ในการเลือกกินผักและอาหารที่ปลอดภัย โดยการส่งเสริมการปลูกผักกินเอง ปลูกพืช การเลี้ยงปลา โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปนี้ - การเรียนรู้แบบ PBL (Project Based Learning) เป็นการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยมีครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการออกแบบกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากภายในและสมองของตนเองอย่างแท้จริง - การเรียนรู้ตามหลักการโรงเรียน BBL (Brain Based Learning) เป็นการเรียนที่ให้ความสนใจประสิทธิภาพการเรียนรู้ของสมองมนุษย์เป็นสำคัญโดยใช้กิจกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจะช่วยส่งผลให้นักเรียนมีการใช้ศักยภาพของสมองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ โดยกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นจะช่วยส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนบ้านบาตะกูโบมีการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่ดี อันจะนำไปสู่การใช้ศักยภาพของสมองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่พร้อมๆกับชุมชนมีความสนใจที่จะร่วมกันพัฒนาและต่อยอดโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหาร มีการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่ดี

 

2 เพื่อให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร

นักเรียนเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร

3 เพื่อให้โรงเรียนสามารถปรุงอาหารที่มีส่วนประกอบของผัก/ปลาที่มีอยู่ในโรงเรียน

โรงเรียนสามารถปรุงอาหารที่มีส่วนประกอบของผัก/ปลาที่มีอยู่ในโรงเรียน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์   2 นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร   3 โรงเรียนมีวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารกลางวันที่มีส่วนประกอบของผัก/ปลาที่ปลูกในโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 12:22 น.