กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำปลอดยาอันตราย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,070.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐธิดา คงขำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัยรวมถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ตัวอย่างเช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติด,ซึ่งกระจายอยู่ตามสถานประกอบการต่างๆ ร้านชำในชุมชนเป็นแหล่งหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค พบมีการจำหน่ายยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อในร้านชำทุกร้านของหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) ร้านชำในชุมชนส่วนใหญ่จำหน่ายยาอันตรายทำให้ประชาชน เสี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจากยา การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลเสี่ยงต่ออันตรายจากความรุนแรงของโรค การดื้อยาก็เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบขนาดทำให้เกิดเชื้อดื้อยา การแพ้ยาจากยาในชุมชนซึ่งมักจะพบได้บ่อย จากการสํารวจร้านชําพบยาที่ห้ามจําหน่าย ยา/อาหารหมดอายุ/เสื่อมอายุ จากการปฏิบัติงานพบปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในร้านชำ อาทิเช่น พบผู้ป่วยแพ้ยาจากร้านชำซึ่งเป็นกลุ่มยาอันตรายที่กฎหมายห้ามจำหน่ายในร้านชำ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกซื้อยาแก้ปวด ลดไข้จากร้านชำซึ่งเป็นยากลุ่ม NSAIDs เช่น ยาทัมใจเป็นผลให้มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย นอกจากนี้จากการสุ่มสำรวจร้านชำในเขตพื้นที่ พบมีการจำหน่ายยาในกลุ่มที่กฎหมายห้ามขาย
จากปัญหาข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคลองยางแดง จึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดยาอันตรายขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้สามารถเลือกซื้อยาที่ปลอดภัยมาจำหน่าย โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และร่วมกันให้ความรู้แก่ประชาชนในการเลือกซื้อยาที่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเกินจำเป็น

 

2 2. เพื่อให้แกนนำอสม.คุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับยาอันตรายในร้านชำ

 

3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบร้านชำมีความรู้ในเรื่องขอบเขตในการขายยา

 

4 4. เพื่อเฝ้าระวังการขายยาอันตรายในร้านชำ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยาในร้านชำ
  2. ผู้ประกอบการร้านชำสามารถเลือกซื้อยาที่ปลอดภัยมาขายให้กับผู้บริโภค
  3. ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวังจากแกนนำ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค
  4. แกนนำ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้สามารถประเมินร้านชำได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 17:17 น.