กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน(วิถีมุสลิม) ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3018-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2566 - 8 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 347,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมพงศ์ ทองสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2566 8 ก.ค. 2566 347,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 347,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล ได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีมุสลิม) ประจำปี ๒๕๖๖ เพื่อดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพจิต ลดปัญหาจากสภาวะการเกิดโรคซึมเศร้า ลดภาวะที่ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัย สร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแลกับประชาชนในตำบลรูสะมิแล กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมกันวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนในพื้นที่นั้น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการบริการจัดการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรืองานสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน ฯลฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ป้องกันแนวโน้มการเกิดสภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และภาวะติดบ้าน 2. เพื่อส่งเสริมความรู้ การดูแลและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในยุคปัจจุบัน โดยใช้กิจกรรมนันทนาการและศาสนามาปฏิบัติ 3. เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาพของแต่ท้องถิ่น 4. เพื่อสร้างให้มีความรู้สึกการมีคุณค่าในตัวเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์พบปะพูดคุยในกลุ่มสังคมผู้สูงอายุ 5. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแลกับประชาชนในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ป้องกันแนวโน้มการเกิดสภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ และภาวะติดบ้าน 2. เพื่อส่งเสริมความรู้ การดูแลและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในยุคปัจจุบัน โดยใช้กิจกรรมนันทนาการและศาสนามาปฏิบัติ 3. เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาพของแต่ท้องถิ่น 4. เพื่อสร้างให้มีความรู้สึกการมีคุณค่าในตัวเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์พบปะพูดคุยในกลุ่มสังคมผู้สูงอายุ 5. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแลกับประชาชนในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่มีแนวโน้มการเกิดสภาวะโรคซึมเศร้า และสภาวะติดบ้าน ติดสังคมในผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในยุดปัจจุบัน โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย และศาสนาเข้ามาปฏิบัติ
  3. ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นอื่น เพื่อสร้างให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
  4. ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ พบปะพูดคุยในกลุ่มสังคมผู้สูงอายุ
  5. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแลกับประชาชนในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 11:08 น.