กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L3018-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 44,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยัสมี หะยีอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 44,575.00
รวมงบประมาณ 44,575.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสมุนไพรไทย เป็นพันธุ์พืชที่ควรค่าแก่การศึกษาเรียนรู้ เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย
ซึ่งสมุนไพรที่สำคัญและช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้มั่นคง และลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของไทยนั้นก็คือ สมุนไพร ที่ใช้ในการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน เนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมี ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุที่ในสมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุข บริการ ประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนปัจจุบัน เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นในชุมชนหรือในครอบครัว จึงมีการนำสมุนไพรมาใช้ ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้าน ในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อบรรเทาอาการ เจ็บป่วยโดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุซึ่งกระบวนการรักษาและสรรพคุณของสมุนไพรชนิด ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและสำคัญอย่างยิ่ง แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาท
สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรไทย อันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาโบราณ ก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และ ถูกทอดทิ้งในที่สุด ส่งผลให้เยาวชนรุ่นหลังรู้จักสมุนไพรไทยน้อยลง และปัจจุบันประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญ กับการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น เนื่องจากการรักษาแผนปัจจุบันบางครั้งมีผลข้างเคียงในบางโรคและมีขีดจำกัดใน การรักษา นอกจากนั้นอิทธิพลของกระแสโลกในเรื่องสมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ สังคมไทย ทำให้คนไทยหันมาบริโภคสมุนไพรกันมากขึ้น ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ประเทศไทย มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ มีภูมิอากาศที่ดี และมีศักยภาพในการผลิตพืชสมุนไพรได้หลากหลายชนิด
ที่มีลักษณะเฉพาะประจำท้องถิ่น รวมทั้งมีแหล่งผลิตสมุนไพรที่เหมาะสม แต่พื้นที่ดังกล่าวยังขาดศูนย์การเรียนรู้ สำหรับพืชสมุนไพร เพื่อใช้เรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพร อันจะ ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงแล้วยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย สมุนไพรจึงจัดเป็นพืช ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งนับว่าสมุนไพรไทยมีศักยภาพและสามารถนำรายได้เข้าประเทศสูงมาก และมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล จึงสนใจที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ โดยใช้วัตถุดิบที่ สามารถปลูกเองได้ในท้องถิ่นอย่างสมุนไพรมาเป็นวัตถุดิบหลัก ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบศูนย์การ เรียนรู้รวมทั้งเป็นแนวทางในการออกแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้กับผู้ที่สนใจ ศึกษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถแปรรูปสมุนไพรสำหรับใช้ดูแลสุขภาพได้เอง 3. เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับจัดซื้อยา และลดการใช้ ยาไม่สมเหตุสมผลได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการ เพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. รับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
  4. ดำเนินงานตามโครงการ
  5. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  2. สามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเบื้องต้นด้วยการใช้สมุนไพร
  3. สามารถช่วยลดภาวะความเจ็บป่วยต่อตนเองและคนในครอบครัว
  4. สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 12:54 น.