กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีน “แลกไข่ ปีที่๑” ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L3018-1-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะฮัสนะ หัวแท้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 17,000.00
รวมงบประมาณ 17,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลมีนโยบายในการให้บริการสุขภาพเชิงรุก ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค และบริการแบบบูรณาการครอบคลุมผสมผสานบริการสุขภาพทั้ง ๔ มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐ – ๕ ปี
เป็นการควบคุมป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยให้ระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๙๐ เพื่อให้สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคและลดอัตราป่วยตายจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ๒ ไตรมาส (ตุลาคม ๒๕๖๕ - มีนาคม ๒๕๖๖) และไตรมาสที่ ๓ ระยะเวลา ๑ เดือน (เมษายน ๒๕๖๖) พบความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานของเด็ก
๐ - ๕ ปี ต่ำกว่าเกณฑ์ นั่นคือ ได้รับวัคซีนหัด ร้อยละ ๔๐.๒๓ วัคซีนไข้สมองอักเสบเข็มที่ ๓ ร้อยละ ๓๓.๓๓ และความครอบคลุมการได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน และบาดทะยักกระตุ้นเข็มที่ ๕ ร้อยละ ๓๒.๖๑ (รายงาน HDC ) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ว่า เด็ก ๐ - ๕ ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็น ร้อยละ ๙๐.๐๐ ยกเว้นวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (mmr) ร้อยละ ๙๕ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ส่งผลต่อระบบบริการสาธารณสุขของภาครัฐโดยเฉพาะในการติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมาย และตำบลรูสะมิแล มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งชนบทกึ่งเมือง ทำให้ประชาชนเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับวัคซีนน้อย ประชาชนบางส่วนเดินทาง ไม่สะดวก ผู้ปกครองไม่นำเด็กมารับบริการวัคซีนที่สถานบริการ ทำให้ฉีดวัคซีนล่าช้า ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน จึงเกิดปัญหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนลดต่ำลง จึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตลอดจนการมีทีมงานช่วยในการติดตาม และรณรงค์ให้นำบุตรหลานไปรับวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแลจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเร่งรัด ติดตามค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย ให้มารับการฉีดวัคซีนขั้นพื้นฐานทุกคน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ปกครอง / ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการนำเด็กอายุ ๐ - ๕ ปี มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ ๒. เพื่อให้เด็ก อายุ ๐ - ๕ ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ๓. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก ๐ - ๕ ปี ๔. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในเด็ก ๐ - ๕ ปีในพื้นที่ตำบลรูสะมิแล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็กตระหนักในการนำเด็กอายุ ๐-๕ ปีมารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
  • ความครอบคลุมการรับวัคซีนเด็กอายุ ๐ - ๕ ปี เพิ่มจากเดิมเกิน ๕๐%
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 13:08 น.