กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมการควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วย1 กรกฎาคม 2566
1
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลนาทวีนอก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการ 3-3-1อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง จนครบ 28 วัน(ยึดหลัก”รวดเร็ว เข้มข้น และต่อเนื่อง”) ดังนี้ 1.ภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี จนท.รพ.สต.ประสาน อสม.ดูแลพื้นที่บ้านที่พบผู้ป่วย เพื่อลงสอบสวนโรคพร้อมสำรวจค่า Hi Ci จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทรายกำจัดลูกน้ำ ยาทากันยุง พร้อมฉีดพ่นสเปรย์เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ที่บ้านผู้ป่วย โดยพ่นต่อเนื่องอย่างน้อย3วันติดต่อกัน และการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ HI CIพร้อมกำจัดทำลายที่บ้านผู้ป่วยรวมถึงบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วยทุกวันที่ 0,7,1 4และ 28 2.ภายใน 1 วัน หลังจากได้รับแจ้งจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอนาทวี ทีม SRRT เข้าดำเนินการพ่นหมอกควันที่บ้านผู้ป่วย และบ้านที่อยู่ใกล้เคียงในรัศมี 100 เมตรกับบ้านผู้ป่วย โดยพ่น 3ครั้ง ทุก 7วัน ติดตามเฝ้าระวังการระบาด ค้นหาบุคคลสงสัยติดเชื้อ หรือ ผู้ป่วยเชิงรุก ผ่านช่องทางต่างๆ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น ช่วยให้ควบคุมการระบาดและรักษาได้ทันท่วงที ลดความรุนแรงและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทัน

การจัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง1 กรกฎาคม 2566
1
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลนาทวีนอก
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.การจัดกิจกรรมรณรงค์ BIG CLEANNING DAY ในหมู่บ้านสถานศึกษา ศาสนสถาน ชุมชน(สถานที่สาธารณะ) และ SMALL CLEANNING DAY ตามสถานการณ์การเกิดโรค ดังนี้ 1.1รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 13 บ้านคลองทุเรียน และมัสยิด 1.2รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 12 บ้านลำลอง ร่วมกับโรงเรียนบ้านลำลอง เป้าหมายนักเรียน ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา  3 หมู่บ้าน  เจ้าหน้าที่ และ อสม. 1.3รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 16 บ้านคลองพน และมัสยิด 2.การติดตามสำรวจค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่บ้าน และชุมชนโดย อสม.ร่วมกับเจ้าบ้าน ทุก 7 วัน ต่อเนื่อง พร้อมสรุปผลค่า HI CI ให้ รพ.สต.ทราบเพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์และเตรียมวางแผนเฝ้าระวังป้องกันได้อย่างเหมาะสม ทันท่วงที

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้ประชาชนแต่ละหมู่บ้านเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2.ทำให้เด็กนักเรียนเกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ