กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4149-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปะแต
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซากีเร๊าะ หะยีบือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.344,101.139place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสำคัญ เป็นสาเหตุการป่วยและการตายอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งในสตรีร้อยละ 80 ของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมการคลำพบก้อนได้ด้วยตนเอง หากค้นพบได้เร็วและได้รับการรักษาในระยะแรกๆจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ พื้นที่ เทศบาลตำบลปะแต อ.ยะหา มีสตรีกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 30-70 ปี ทั้งหมด 1,021 คน ในเขตหมู่ 1,2,6,7,8 จากผลการดำเนินงานปี 2565 คัดกรอง 200 ราย พบว่าไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 90 และพบผิดปกติจำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการ ในรายที่พบผิดปกติ จะมีการนำส่งคัดกรอง มะเร็งเต้านมช้ำโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) บริการจากมูลนิธิกาญจนบารมีต่อไป ดังนั้น การเฝ้าระวังในชุมชน โดยการคัดกรองเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีการที่สตรีทุกคนสามารถทำได้ และถ้าตรวจได้ถูกต้องสม่ำเสมอ จะสามารถค้นหาความผิดปกติได้เร็วขึ้นสามารถช่วยให้สตร์ไทยลดระยะความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมและได้รับการรักษาในระยะแรกๆจะสามารถเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาองค์กรอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear และในปัจจุบันปี 2565 ตรวจโดยวิธี HPV DNA Test ทำช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก จากการตรวจคัดกรองเบื้องตันของสตรีกลุ่มอายุ 30 ปี ในพื้นที่เทศบาลตำบลปะแต ยังมีความรู้ความเข้าใจไม่ถูกต้อง และการเข้าถึงบริการยังน้อยในปี 2563 ,2564,2565 ได้ร้อยละ 20 ,32.50, 47.23 ตามลำดับ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปะแต จึงได้จัดทำโครงการมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก 2566 เพื่อสามารถค้นหาความผิดปกติในสตรีกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น ช่วยให้สตรีไทยลดระยะความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ได้รับกรรักษาในระยะแรกๆ ทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในโรคดังกล่าวในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 200 คน ได้รับความรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
2 2.เพื่อกลุ่มสตรีอายุ 30 ปี ขึ้นป ในพื้นที่ทศบาลตำบลปะแต ได้รับการตรวจมะเงเต้านมและมะเร็งปากม
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 200 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  2. ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 200 คน ได้รับความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
  3. เพื่อการเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 11:16 น.