โครงการพัฒนาศักยภาพทีมพ่นหมอกควันตำบลนาหว้า
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพทีมพ่นหมอกควันตำบลนาหว้า |
รหัสโครงการ | 66-L5182-05-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาหว้า |
วันที่อนุมัติ | 5 กรกฎาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 6 กรกฎาคม 2566 - 10 กรกฎาคม 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 62 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ลดร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก | 70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่โรคไข้เลือดออก โรคไวรัสซิก้า โรคชิคุนกุนยา โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย สามารถติดต่อได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพื้นที่ แต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและมีผู้ป่วยเสียชีวิตหลายราย สร้างความเสียหายมากมายต่อเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติการณ์ของโรคคือ ความหนาแน่นของยุงและความชุกชุมของเชื้อโรคในยุง มาตรการที่ใช้ในควบคุมโรคจึงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมยุงพาหนะ โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงตัวเต็มวัย แต่ปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100% ทำให้ยังพบลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัยในทุกพื้นที่ที่ทำการสำรวจ ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยเกิดขึ้นในชุมชนจึงหลีกเลี่ยงการพ่นสารเคมีไม่ได้ โดยต้องทำการพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยและพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วยอย่างน้อยรัศมี 100 เมตร อย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน หากมีผู้ป่วยกระจายทั่วชุมชนต้องพ่นทุกหลังคาเรือน เพื่อควบคุมการระบาดของโรค เครื่องมือที่ใช้ลดความหนาแน่นของยุงในเวลาอันรวดเร็วคือ เครื่องพ่นสารเคมี การจากสำรวจในเขตพื้นที่ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พบว่าเป็นเครื่องพ่นหมอกควันเป็นส่วนใหญ่ และจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ผ่านมา และการให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องพ่น พบว่าเครื่องพ่นหมอกควันมักจะประสบปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การพ่นสารเคมีกำจัดยุงไม่มีประสิทธิภาพ 100% และต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการซ่อมบำรุงเครื่องพ่น ได้แก่ ทีมพ่นยังขาดความรู้ ความชำนาญในการใช้งานเครื่องพ่น ทำให้ต้องพักเครื่องบ่อยหรือเครื่องไม่ทำงาน เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก ส่งผลให้การควบคุมโรคล่าช้า รวมทั้งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้พ่นและประชาชนด้วยดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาหว้าจึงกำหนดจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทีมพ่นหมอกควัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,000.00 | 4 | 14,000.00 | |
6 ก.ค. 66 | การจัดทำมาตรการชุมชนในการใช้เครื่องอย่างถูกวิธีและปลอดภัย | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
6 ก.ค. 66 | การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เครื่องพ่นหมอกควันอย่างมีประสิทธิภาพ | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
10 ก.ค. 66 | การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการใช้เครื่องพ่นหมอกควัน | 0 | 14,000.00 | ✔ | 14,000.00 | |
11 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 | กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพ่นหมอกควันในพื้นที่ตำบลนาหว้า | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 |
- แกนนำหมู่บ้าน/เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันมีความรู้ ความสามารถในการซ่อมบำรุงเครื่องพ่นหมอกควันเบื้องต้น
- แกนนำหมู่บ้าน/เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันและประชาชน มีความปลอดภัยต่อร่างกายและทรัพย์สินจาการพ่นหมอกควันในการป้องกันและควบคุมโรคนำโดยแมลง
- แกนนำหมู่บ้าน/เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันสามารถใช้เครื่องพ่นได้อย่างถูกต้องและมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 12:14 น.