กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูรา
รหัสโครงการ 66-L8330-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูรา
วันที่อนุมัติ 9 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสำราญ คงพล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การมีโภชนาการที่ดีส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจมีสติปัญญาที่ดีเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ปัจจุบันภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีความซุกเพิ่มมากขึ้นและเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติในหลายประเทศทั่วโลก ภาวะทุพโภชนาการเป็นสาเหตุการเสียชีวิต จากรายงานล่าสุดขององค์กรยูนิเซฟ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ประมาณ 165 ล้านคนทั่วโลก มีลักษณะเตี้ย แคระแกร็นและมีความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางกายภาพและพัฒนาการทางสมองของเด็ก ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลำลง เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ยังมีความเสี่ยงที่จะป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น การขาดสารอาหารในวัยเด็กยังอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องระยะยาว เด็กหญิงที่มีลักษณะแคระแกร็นจะมีความเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์ มีการเพิ่มของน้ำหนักไม่มากพอในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะทุพโภชนาการของมารดาอาจส่งผลให้ทารก มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำพร้อมกับภาวะสุขภาพของเด็กไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้น ทารกเหล่านี้อาจจะไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้เหมือนเด็กขาดอาหารอื่นๆร่างกายจะอ่อนแอมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อและเสียชีวิตได้ในที่สุด และหากรอดชีวิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่อาจต้องเผชิญกับการเป็นโรคเรื้อรัง ในปีการศึกษา 2565 ศูนยืพัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูรา ได้ติดตามผลการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยในความดูแลจำนวน 37 คน โดยการบันทึกค่าน้ำหนัก ส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 ปี และทำการประมวลผลด้วยระบบ KidDiary School พบว่า เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูราร้อยละ 51.4 มีภาวะทุพโภชนาการ โดยแบ่งเป็น เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย 7 คน คิดเป็น 18.9 % เด็กผอมและค่อนข้างผอม จำนวน 4 คน คิดเป็น 10.8 % เด็กอ้วนและเริ่มอ้วน จำนวน 6 คน คิดเป็น 16.22% และเด็กสูงดีสมส่วน จำนวน 20 คน คิดเป็น 54.05% จากสถิติดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูราจึงได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยไว้ 2 แนวทาง คือ 1.แนวทางการป้องกันด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องทุกมื้อ 2.แนวทางการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยโดยการจัดให้มีกิจกรรมทางกาย และการเคลื่อนไหวออกแรง เด็กอายุ 1-5 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายประมาณ 2.30-3 ชั่วโมงต่อวัน เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้วยังทำให้เด็กมีน้ำหนักที่สมส่วน และไม่เป็นโรคอ้วนอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูรา จึงเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลลำภูรา ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการที่เกิดขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน ก่อนดำเนินงาน   1. ศึกษาปัญหาและความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ   2. ประชุมผู้ดูแลเด็กเพื่อหารือถึงข้อปัญหาและรูปแบบแนวทางการจัดทำโครงการ   3. เขียนโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ   4. ประสานวิทยากร จัดเตรียมข้อมูล เอกสาร วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่   5. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี ของกรมอนามัย ก่อนอบรม ระหว่างดำเนินโครงการ   6. ดำเนินโครงการตามกำหนดการที่กำหนด     (1) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง/ผู้ดุแลเด็กปฐมวัยผู้ประกอบอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 50 คน     (2) พ่อแม่ ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้ประกอบอาหารกลางวันของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำความรู้ไปส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัยที่อยู่ในความดูแล     (3) บันทึกแบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัย     (4) จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย เช่น เล่นฮูลาฮูป เต้น เล่น ออกกำลังกาย     (5) ตรวจคัดกรองสุขภาพ ติดตามประเมินชั่่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 2-5 ปี หลังอบรม 1 เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง ในรายการที่มีภาวะทุพโภชนาการ ส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภูรา หลังดำเนินการ   7. ประเมินน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ อย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน   8. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ   9. ติดตามภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดปีการศึกษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัมนาเด็กเล็กได้รับการเฝ้าระวังติดตามภาวะทุพโภชนาการ
  2. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการดูแลสึขภาพและโภชนาการอย่างเหมาะสม ต่อเนื่อง
  3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเด็กโภชนาการการป้องกันโรคติดต่อและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 15:25 น.