กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค
รหัสโครงการ 66-L8429-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวหิน
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรยา ปูเงิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 4,340.00
รวมงบประมาณ 4,340.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ.2552 มาตรา 67 ภายใต้บังคับของกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการและสอดคล้องกับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานด้านที่ 1การบริหารจัดการพัฒนาเด็กปฐมวัยตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ย่อย 1.4.1 มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตัวบ่งชี้ย่อย 1.5.1 มีการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างพ่อ/แม่ ผู้ปกครองกับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับตัวเด็ก และการดำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มาตรฐานด้านที่ 2 ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองที่ดี ตัวบ่งชี้ย่อย 2.4.1 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับเด็กและการแก้ไขข้อขัดแย้ง อย่างสร้างสรรค์ นั้น     ความพร้อมด้านความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ปีการศึกษา 2554 (2) กรมส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการสวมหมวกนิรภัย กำหนดพื้นที่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย เป็นเขตสวมหมวกนิรภัย 100 % และการที่เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 99 % สาเหตุเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง 7 % เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยนี่เอง สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมการใช้งานที่ถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ
ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสต้นวา ได้เล็งเห็นความสำคัญจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก และเพื่อเป็นการป้องกันและดูแลความปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับเด็ก จึงได้จัดทำโครงการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสต้นวาสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์อย่างน้อยร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน

ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร และการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์รับ-ส่งเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 25 4,340.00 4,340.00
รวม 25 4,340.00 1 4,340.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสต้นวาสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ร้อยละ 100
  2. ครูและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร และการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัยร้อยละ 100
  3. ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน อันจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาจราจร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ใช้รถใช้ถนนและส่งผลให้นักเรียนได้เดินทางไปกลับโรงเรียนได้อย่างปลอดภัยโดยการสวมใส่หมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 15:44 น.