กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างความรอบรู้ สู่นักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา สูงดีสมส่วน
รหัสโครงการ 66-L8330-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลำภูรา
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิทย์ ดาวังปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงและฉลาด โดยมีเป้าหมาย คือ เด็กวัยเรียนเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและมีทักษะสุขภาพโดยกำหนดตัวชี้วัด ปี 2564 เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 67 และจากการรายงานของกองแผนงานและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 พบว่าเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 64.32 มีภาวะผอม ร้อยละ 4.23 ภาวะเริ่มอ้วน ร้อยละ 12.75 และภาวะเตี้ย ร้อยละ 9.38 และในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 12 การดำเนินการยังไม่ถึงตัวชี้วัด โดยมีแนวโน้มดังนี้ในปี 2561/2562 และ 2563 พบเด็กสูงดีสมส่วน ร้อยละ 67.22 63.27 และ 66.26 และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.99 13.61 และ 13.07 ปัญหาภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน มีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น หากเป็นโรคอ้วนขั้นรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้นอนหลับไม่สนิทในช่วงกลางคืนและง่วงนอนซื่งส่งผลต่อการเรียนหนังสือ ยิ่งไปกว่านั้นเด็กหญิงที่อ้วนจะเข้าสู่ภาวะวัยรุ่นเร็วกว่าปกติ ประจำเดือนจะมาเร็ว และกระดูกปิดเร็วทำให้สูงได้ไม่เต็มศักยภาพ จึงน่าเป็นห่วงว่าเด็กรุ่นใหม่จะเตี้ยลงเรื่อย ๆ กรมอนามัยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ รวมไปถึงแนวทางการแก้ไขปัยหากรณีที่เกิดความเสี่่ยงด้านสุขภาพได้แก่ การส่งเสริม และแก้ไข การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ในการส่งเสริมเด็กวัยเรียนให้สูงดีสมส่วน โดยเฉพาะเรื่องภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน รวมถึงการเรียนรู้เทคนิคการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1
    จัดอบรมให้ความรุ้เกี่ยวกับการประเมินและดูแลภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ครูที่ปรึกษา ครูพยาบาล และพัฒนาสู่นักจัดการน้ำหนักในเด็ก กิจกรรมที่ 2     เพิ่มกิจกรรมทางกายในโรงเรียนช่วงเช้าหรือเย็น โดยการยืดเหยียดหรือแอโรบิค กิจกรรมที่ 3     จัดสภาพแวดล้อมด้านการเคลื่อนไหวออกแรง โดยการจัดซื้ออุปกรณืกีฬา และเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งให้พ่อเพียง กิจกรรมที่ 4     จัดสภาพแวดล้อมอาหารสุขภาพ โดยการประชุมครูดภชนาการ แม่ครัว ร้านค้าและผู้ประกอบการในโรงเรียนแลหน้าโรงเรียนเพื่อหาแนงทางเสริมเมนุทางเลือกให้เด็ก กิจกรรมที่ 5     พัฒนาสื่อด้านโภชนาการและการเคลื่อนไหวออกแรงในเด็กให้เหมาะสมกับบริบทและครอบครัว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนดรงเรียนบ้านลำภูราได้รับการประเมิน/คัดกรองภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน
  2. เด้กนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา ครูที่ปรึกษา ครูพยาบาล และผู้ดูแลเด็ก มีความรอบรู้สู่นักจัดการน้ำหนักในเด็ก
  3. เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านลำภูรา สู่งดีสมส่วน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 10:21 น.