กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือแม่
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสารีปะ อุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.701place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงอนุบาลเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม
      จากรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปี 2565 ของเด็กอายุ 3 ปี ในตำบลดอนทรายพบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 61.89 จะเห็นได้ว่าเด็กมีฟันผุค่อนข้างสูงในส่วนของเด็กที่ยังไม่ได้รับการแปรงฟันจากผู้ปกครอง ร้อยละ 83.9 พบว่าผู้ปกครองยังไม่ให้ความสำคัญในการแปรงฟันให้ลูกยังไม่ถูกวิธีและเริ่มพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ       ดังนั้น ทางฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลไม้แก่น ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการแปรงฟันให้ลูก จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันสวยด้วยสองมือแม่ ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักดูแลฟัน และแปรงฟันให้บุตรได้อย่างถูกวิธี รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคฟันผุให้มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีฟัน และส่งเสริมให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพฟันของตัวเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-3 ปี

 

2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดทักษะการแปรงฟันให้ลูก ได้อย่างถูกวิธี

 

3 ๓. เพื่อลดอัตราฟันผุในเด็ก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๓.กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก กลุ่มอายุ 0-3 ปี รพ.สต.บ้านรังมดแดง 70 คน
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก กลุ่มอายุ 0-3 ปี รพ.สต.บ้านป่าไหม้ 70 คน
ภาคีเครือข่ายและทันตบุคลากร 10 คน ในตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี


๔.วิธีดำเนินการ ก่อนดำเนินโครงการ
1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-3 ปีเพื่อขึ้นทะเบียน (สำรวจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านรังมดแดง และบ้านป่าไหม้ พบว่ามีเด็ก อายุ 0-๓ ปี ๑๔๐ และขึ้นทะเบียน เรียบร้อย ก่อนเสนอโครงการ) 2. ประชุมคณะทำงาน นำเสนอโครงการฯ 3. เสนอโครงการ เพื่อขอรับการอนุมัติ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนทราย ขั้นดำเนินการ       ๔. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การแปรงฟันให้ลูก และแจกแปรงสีฟัน รวมทั้งใช้สื่อแฟลตฟอร์มดิจิตัล Facebook Chatbot 21 วันฟันดี (คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่) จัดภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งหมด 150 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 35 คน ใช้ระยะ 4วัน
โดยกลุ่มเป้าหมายมีดังนี้
- ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก กลุ่มอายุ 0-3 ปี รพ.สต.บ้านรังมดแดง 70 คน
- ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก กลุ่มอายุ 0-3 ปี รพ.สต.บ้านป่าไหม้ 70 คน
-  ภาคีเครือข่ายและทันตบุคลากร 10 คน ในตำบลดอนทราย อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี       5. ประกวดหนูน้อยฟันดี หลังดำเนินการ   ๖.ติดตามตรวจ ช่องปาก และทาฟลูออไรด์ เด็ก ๐ -๓ ปี (ตามปฏิทินการติดตาม)       7. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานหลังสิ้นสุดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม เกิดความตระหนักและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
          ของเด็กอายุ 0-3 ปี
        2. ผู้ปกครองเกิดทักษะการแปรงฟันให้ลูก ได้อย่างถูกวิธี (วัดจากการสังเกต การฝึกปฏิบัติ)     ๓.ลดอัตราฟันผุในเด็ก ร้อยละ ๕๐
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 13:21 น.