กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 66-L7578-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลป่าบอน
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฬาพร แสงเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337,100.171place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2566 5 ก.ค. 2566 15,600.00
รวมงบประมาณ 15,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง ตามนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง อาหารสะอาด รสชาตอร่อย (Clean Food Good Taste) มาโดยตลอดเพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ จากข้อมูลการสำรวจร้านชำในเขต รพ.ป่าบอน ปี ๒๕๖๓ พบว่า ร้านชำมีทั้งหมด ๒๔ ร้าน มีร้านซำที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ จำนวน ๑๐ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗ และผลการดำเนินงาน การออกตรวจร้านอาหาร แผงลอย/โรงครัว ขตรับผิดชอบโรงพยาบาลป่าบอน ปี ๒๕๖๕ มีร้านอาหารทั้งหมด ๕ ร้าน ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลสำหรับร้านอาหารทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และผ่านเกณฑ์การตรวจเชื้อแบคที่เรียจำนวน ๒ ร้าน คิดเป็นร้อยละ มี ๔๐ โรงอาหารทั้งหมด จำนวน ๖ โรงเรียน ผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลสำหรับโรงอาหารอาหาร ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ ๑๐ㆍ และผ่านเกณฑ์การตรวจเชื้อแบคที่เรียจำนวน ๑ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ มี ๕๐ และโรงครัวโรงพยาบาล 1 โรงครัว ผ่านเกณฑ์ทั้งข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลโรงครัว/โรงอาหารและการตรวจเชื้อแบคทีเรีย โรงพยาบาลป่าบอน ได้เห็นความสำคัญของการเฝ้ารระวังความปลอตภัยของสินค้าในร้านชำ และด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภทร้านอาหารและแผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่โรงพยาบาล ป่าบอน มุ่งเน้น ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการดังกล่าว ให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาตัวผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้ในการเลือกซื้อและการจัดบริการอาหารที่ปลอดภัย เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบ ทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลป่าบอน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ร้านชำ/ร้านอาหาร แผงลอย โรงอาหาร และโรงครัว ปฏบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านอาหาร แผงลอย และโรงอาหาร/โรงครัว ๔. จัดทำแผนลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพร้านชำ/สถานที่ปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดมาตรฐาน CFGT ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ๕. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ๖. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แกนนำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอย/ร้านอาหาร มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่สามารถจำหน่ายได้ที่ร้านชำอย่างถูกต้องตามกฎหมายและช่วยกันดูแลผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องในชุมชน ๒. มีพัฒนาระบบเฝ้าระความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2566 14:04 น.