กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเปาะยานิ
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มิถุนายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาลินี วอมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนบ้านเปาะยานิพบว่าปัญหาสุขภาพ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีปัจจัยความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ
1) บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้นำชุมชน 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน
องค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นต้น
การออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ อย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของ
การเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ (Osteoporosis) ได้ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกาย ในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิด สารก่อมะเร็ง และเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาว ทำให้ลดปัญหาสุขภาพได้ ด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเตรียด และนอนหลับได้ดี และผลดี ด้านสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน การที่ประชาชน ทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้น ประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้มากขึ้น พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคลากรสุขภาพ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ควรให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก
กลุ่มกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเปาะยานิ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 3 30,000.00
7 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการควบคุม พัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง 0 9,250.00 9,250.00
8 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการทำอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ เช่น แกงเลียง ผักปลอดสารพิษ สลัดผัก ขนมหวาน 0 10,450.00 10,450.00
9 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียง และการป้องกันสุขภาพ 0 10,300.00 10,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ 2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566 15:02 น.