กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 2 ตำบลนาหว้า
รหัสโครงการ 66-L5182-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 2 ตำบลนาหว้า
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 กันยายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,755.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
25.60
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
0.98
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
11.90
4 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
85.90

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพชุมชน เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของ ของรัฐ เช่น องค์กรส่วนท้องถิ่น นโยบาย งบประมาณ บุคลากรผู้บริหารท้องถิ่นองค์กรภาคประชาชนเช่น ประชาคม กลุ่มช่วยเหลือกัน กลุ่มผู้นำชุมชน เครือข่ายผู้ให้บริการทางสุขภาพในชุมชนอีกทั้งคุณลักษณะของงานการดูแลสุขภาพชุมชน เป็นงานที่คำนึงถึงปัญหาสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนเป็นตัวตั้ง ต้องใช้ทุนเดิมเป็นหลักและมีหลายเจ้าภาพต้องการวิธีทำงานจากหลายแนวคิด ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยประชาชน ชุมชนและองค์กรในชุมชนต้องมีศักยภาพ การพัฒนาระบบการทำงานดูแลสุขภาพชุมชนจึงเป็นเครื่องมือและเป้าหมายสำคัญในการดูแลสุขภาพชุมชนที่มุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชนมีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาและความเจ็บป่วยของตนเอง ภายใต้แนวคิด วิถีการดูแลตามธรรมชาติของชุมชนแสวงหาและใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ให้เกิดการดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชนอย่างแท้จริง จนสามารถเกิดกระบวนการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่องบนฐานของการรับรู้ร่วมกัน เข้าใจปัญหาและความต้องการร่วมกันของชุมชนเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืนในอนาคต ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากการถดถอยของสมรรถนะร่างกาย และภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งเพิ่มขึ้นตามอายุ และโดยเฉลี่ยมีมากกว่าหนึ่งโรคในการพัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้าน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการสาธารณสุขในชุมชนโดยการเพิ่มบทบาท อสม.หมอประจำบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดคงความแออัด ลดความเหลื่อมล้ำ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และเป็นการช่วยลดปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ เป็นการช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล และลดการพึ่งพาโรงพยาบาลได้ กระทรวงสาธารรสุข การพัฒนาความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใช้ป็นแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งแสดงให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงบทบาทการดำเนินงานของ อสม.หมอประจำบ้าน ในการปฏิบัติงานและแสดงบทบาทอย่างเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ การ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชนร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง การพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ

ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อเพิ่มพลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

25.60 15.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

0.98 0.50
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

11.90 10.00
4 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

85.90 88.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,755.00 0 0.00
29 ก.ย. 66 ประชุมวางแผนการดำเนินและการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 0 675.00 -
4 - 6 ต.ค. 66 ประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพฯ เข้าร่วมโครงการ 0 30.00 -
16 ต.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองความเสี่ยง การดูแล การให้คำแนะนำและการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 0 4,250.00 -
19 ต.ค. 66 - 23 พ.ย. 66 ติดตามเยี่ยมเสริมพลังแก่กลุ่มเป้าหมายและประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเป้าหมายและครอบครัว 0 7,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ จากกลุ่มเครือข่ายด้านสุขภาพส่งผลให้มีมีสุขภาพดีและมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566 00:00 น.