กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5191-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.ตาแปด
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กรกฎาคม 2566 - 28 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณี ดวงมะลิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศกำลังเผชิญอยู่กับความเจริญในด้านต่างๆทำให้ประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตในทุกด้าน เช่น การอุปโภค บริโภคสินค้า และวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้การแข่งขันกันอย่างมากในเรื่องของการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค เพราะผู้ประกอบการจะใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ขายสินค้าเป็นจำนวนมากและมีต้นทุนต่ำปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน พบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ไม่เพียงพอในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการมีแนวโน้มฝ่าฝืนหรือละเลยข้อกฎหมายและบางส่วนยังไม่มีความรู้ในเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆและในส่วนอาหารปลอดภัย อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อนการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุก และสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด การใช้ชีวิตของผู้คนดำเนินไปอย่างเร่งรีบและให้ความสำคัญกับความสะดวกจนบางครั้งลืมมองถึงอันตรายที่อยู่รอบตัว การให้ความสำคัญกับความสะดวก ประหยัดเวลาจนกระทั่งละเลยความใส่ใจ เรื่องพิษภัยที่อยู่รอบตัว ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กล่องโฟมบรรจุอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองชีวิตที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีอันตรายที่แฝงมากับกล่องโฟมที่บรรจุอาหาร นอกจากโรคภัยไข้ เจ็บแล้ว ปัจจุบันจากการบริโภคอาหารและสินค้าต่างๆของมนุษย์ ก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหารที่ผลิตจากพลาสติก ย่อยสลายยากส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในอนาคต เกิดปัญหาขยะล้นชุมชน ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ทางทะเล และอื่นๆตามมา จึงส่งเสริมให้ลดการใช้พลาสติกประเภท single use เช่น หลอดดูด แก้วใส่เครื่องดื่ม ถุงหูหิ้ว ถุงพลาสติก เป็นต้น และส่งเสริมสนับสนุนใช้วัสดุ หรือภาชนะที่ทำจากธรรมชาติหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยในชุมชนโรงเรียน และผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ เป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร การพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ สร้างความตะหนักถึงความสำคัญความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ และเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขาภิบาลอาหารอย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขาภิบาลอาหารอย่างถูกต้อง

0.00
2 2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

0.00
3 3.ผู้ประกอบการร้านขายของชำ และร้านค้าแผงลอยได้ตรวจสารเคมีในเลือด

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านขายของชำ และร้านค้าแผงลอยได้ตรวจสารเคมีในเลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,650.00 0 0.00
24 ก.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 2.กิจกรรมตรวจประเมินแผงจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน ให้ผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด2 0 7,500.00 -
31 ก.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 1.กิจกรรมให้ความรู้ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงเรียน และร้านชำ 0 13,300.00 -
31 ก.ค. 66 - 22 ก.ย. 66 3.สุ่มตรวจร้านชำในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ 0 1,350.00 -
21 ส.ค. 66 - 22 ก.ย. 66 4.กิจกรรมตรวจสารเคมีในเลือดของผู้ประกอบการร้านชำและแผงลอย 0 12,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการแผงลอยในชุมชน และผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนมีความรู้ในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากขึ้น
2.ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับประชาชน สามารถลดปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ 3.ผู้ประกอบการร้านชำ และร้านแผงลอย ได้รับการตรวจหาสารเคมีในเลือด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2566 00:00 น.