กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 มิถุนายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮานี จารู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนบ้านนิบงบารู พบว่าปัญหาสุขภาพ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีปัจจัยความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ
1) บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง
2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้นำชุมชน 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน
องค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นต้น
การออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ อย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ (Osteoporosis) ได้ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกาย ในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิด สารก่อมะเร็ง และเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาวทำให้ลดปัญหาสุขภาพได้ ด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเตรียด และนอนหลับได้ดี และผลดีด้านสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน การที่ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้นประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้มากขึ้น พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคลากรสุขภาพ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ควรให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก
กลุ่มกลุ่มอาสาสมัครประจำหมู่บ้านนิบงบารูได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง-ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 3 30,000.00
4 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการควบคุม พัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง 0 9,250.00 9,250.00
5 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการทำอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ เช่น แกงเลียง ผักปลอดสารพิษ สลัดผัก ขนมหวาน 0 10,450.00 10,450.00
6 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้เรื่องการกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียง และการป้องกันสุขภาพ 0 10,300.00 10,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ 2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566 15:51 น.