โครงการน้ำหมักชีวภาพ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ชื่อโครงการ | โครงการน้ำหมักชีวภาพ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
รหัสโครงการ | 66-L5198-2-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมรักษ์สุขภาพวังไทร |
วันที่อนุมัติ | 6 กรกฎาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 13,068.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายโชติ ขวัญทองยิ้ม |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.586,100.695place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากสารเคมีปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม และแหล่งน้ำ ส่งผลต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ หากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากๆ จะเห็นได้จากประชาชนในระดับครัวเรือน หรือเกษตรได้เริ่มมาให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตที่เป็นที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำน้ำหมักชีวภาพกำลังเป็นที่สนใจของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำในระดับครัวเรือนหรือชุมชนที่สนใจ แต่ยังไม่แพร่หลาย เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องกระบวน การผลิต การบรรจุ การเก็บรักษาและการตรวจคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำน้ำหมักชีวภาพ ดังนั้น ชมรมรักษ์สุขภาพวังไทร จึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้จากเศษอาหาร เปลือกผลไม้ เช่น เปลือกส้ม เปลือกสัปปะรด เปลือกมังคุค แตงโมและเศษผักต่างๆ นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย แก้ไขปัญหาขยะอินทรีย์ที่ส่งกลิ่งเหม็น เรียนรู้วิธีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี การเอาจุลินทรีย์ EM มาช่วยในการเร่งปฏิกิริยาย่อยสลายผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เหลือใช้เป็นน้ำจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อไปทำการล้างท่อลดปัญหาการส่งกลิ่นเหม็นทดแทนการใช้สารเคมี ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับนโยบายระดับชาติที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และลดปัญหาขยะเปียกในครัวเรือน ให้ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น จึงหันมาใช้สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวมาทดลอง และประยุกต์ใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการน้ำหมักชีวภาพ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ 90 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ |
||
2 | เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะ การกำจัดขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครัวเรือนและในชุมชน ร้อยละ 90 ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะและการกำจัดขยะ |
||
3 | 3. เพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ร้อยละ 90 มีการนำวัสดุเหลือใช้จากเศษอาหาร เปลือกผลไม้ ในครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพ |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.ค. 66 | ส.ค. 66 | ก.ย. 66 | ต.ค. 66 | พ.ย. 66 | ธ.ค. 66 | ม.ค. 67 | ก.พ. 67 | มี.ค. 67 | เม.ย. 67 | พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เปลือกผลไม้(20 ก.ค. 2566-20 ก.ค. 2566) | 5,500.00 | |||||||||||||||||||
2 | การคัดแยกขยะและกำจัดประเภทต่างๆ(23 ม.ค. 2568-23 ม.ค. 2568) | 7,568.00 | |||||||||||||||||||
รวม | 13,068.00 |
1 น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เปลือกผลไม้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 70 | 5,500.00 | 1 | 5,500.00 | |
20 ก.ค. 66 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ | 70 | 5,500.00 | ✔ | 5,500.00 | |
2 การคัดแยกขยะและกำจัดประเภทต่างๆ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 70 | 7,568.00 | 1 | 7,568.00 | |
20 ก.ค. 66 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกและกำจัดขยะประเภทต่างๆ | 70 | 7,568.00 | ✔ | 7,568.00 | |
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ
- ประชาชนมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะ การกำจัดขยะ และการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในครัวเรือนและในชุมชน
- ลดปริมาณขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2566 10:19 น.