กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนภายใต้กิจกรรมการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานชุมชน ประจำปี ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L8013-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 51,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรีย์ วงศ์ประชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม หรือ ระบบการดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยพยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างสุขภาพให้มีสุขภาพดี ดังนั้น การสาธารณสุขมูลฐาน (Primary health care) จึงเป็นกลวิธีทางการสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งมีอยู่ในระดับตำบลและหมู่บ้าน เป็นวิธีการให้บริการสาธารณสุขที่ผสมผสานทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู ที่ดำเนินการโดยประชาชนเอง ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและการประเมินผล โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้ การศึกษา ฝึกอบรมและระบบส่งต่อผู้ป่วย โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในฐานะหน่วยงานและมีหน้าที่ในการสนับสนุนวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การฝึกอบรมและส่งต่อผู้ป่วยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ได้เล็งเห็นว่าการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพหรือสุขภาวะชุมชนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะนำมาซึ่งการพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพโดยใช้ฐานข้อมูลส่วนบุคคล สภาพแวดล้อม สภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนมาใช้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และกำหนดตัวชี้วัดด้านสุขภาพ นำมาซึ่งการทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาสุขภาวะชุมชน ทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลรือเสาะมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสำรวจข้อมูลสุขภาพระดับบุคคลและครอบครัวในชุมชน ทั้งหมด ๒๑ ชุมชน เขตเทศบาลตำบลรือเสาะ

๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของครัวเรือนในแต่ละชุมชนได้รับการสำรวจข้อมูลสุขภาพระดับบุคคลและครอบครัว

2 ๒. เพื่อนำข้อมูลจากการสำรวจเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๗

๒. ได้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์และเกิดแผนสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๗ จำนวน ๑ เล่ม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนภายใต้กิจกรรมการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานชุมชน(9 ก.ค. 2566-9 ก.ค. 2566) 51,000.00    
รวม 51,000.00
1 กิจกรรมสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนภายใต้กิจกรรมการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 51,000.00 0 0.00
9 ก.ค. 66 กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการวางแผนการดำเนินงานโครงการ 0 2,250.00 -
9 ก.ค. 66 กิจกรรมลงสำรวจข้อมูลในพื้นที่ 0 48,750.00 -
9 ก.ค. 66 กิจกรรมรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์เพื่อสรุปปัญหาทางด้านสุขภาพและเป็นเครื่องมือมือ ๒ ในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ปี ๒๕๖๗

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566 16:38 น.