กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยและพัฒนามาตรฐานร้านอาหาร แผงลอย อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
รหัสโครงการ L2498-66-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กรกฎาคม 2566 - 27 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำหมัดอัสรี เจ๊ะเก็ง (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทยตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านค้า ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน และน้ำมันทอดซ้ำ ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงาน      เป็นระยะ จากการดำเนินงานของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2564 – ๒๕65 แผงจำหน่ายอาหารสดในตลาดและหมู่บ้านปราศจากสารปนเปื้อน ๓ ชนิด ปี 2564 ร้อยละ ๔๐  และ ปี 2565 ร้อยละ 45.28 ตามลำดับ ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CFGT ร้อยละ ๖๖.๖๗ อัตราความสำเร็จในการตรวจประเมินร้านอาหารและแผงลอย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕61 – ๒๕66 เท่ากับร้อยละ๓๓.๓๔ ร้อยละ ๔๐ ร้อยละ 50.35 ร้อยละ ๖2.๖๗ และร้อยละ 63.25 ตามลำดับและร้านอาหารและแผงลอยเปลี่ยนผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการขาดความรู้ในการดำเนินงานให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหาร โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา    ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหาร และร้านขายของชำดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์      ด้านอาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตามมาตรฐานสุขาภิบาล
  1. ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้อยละ 80 ผ่านมาตรฐานสุขาภิบาล
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 25 6,880.00 0 0.00
27 ก.ค. 66 กิจกรรมลงตรวจร้านอาหาร 25 6,880.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษและ โรค มือ เท้า ปาก ลดลง
  2. มีระบบเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษและ โรค มือ เท้า ปาก ที่ชัดเจน เห็นผล มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2566 14:36 น.