กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ L3053-66-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
วันที่อนุมัติ 20 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 30,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูซานา ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ส.ค. 2566 17 ส.ค. 2566 17 ส.ค. 2566 17 ส.ค. 2566 30,350.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 30,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยปวดศรีษะอ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 2 – 10 ปี โดยพบว่ามีการระบาดได้เกือบตลอดทั้งปีแต่มักจะมี การระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

เนื่องจากในพื้นที่ตำบลตะบิ้งเป็นพื้นที่ลุ่ม ทำให้มีน้ำขังในช่วงฤดูฝนหลายพื้นที่ของตำบลตะบิ้ง เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่มาจากน้ำหลาก โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น จึงจะต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ซึ่งในทุกปีพื้นที่ตำบลตะบิ้ง จะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทำให้มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อของไข้เลือดออกในพื้นที่เสมอนั้น

จากข้อมูลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันก่อนเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง ประกอบกับนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ข้อ 3 ด้านสาธรารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำ “โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก” เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในพื้นที่ชุมชน พื้นที่สาธารณะ โรงเรียน และศาสนสถานต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,350.00 0 0.00
1 - 31 ส.ค. 66 จัดฝึกอบรมให้ความรู้ รณรงค์ ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 27,550.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 เดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 2,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  2. กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  3. ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2566 15:10 น.