กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำมัยยิต(ศพ)ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (Covid-19)ในชุมชน ตำบลกรงปินัง ปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การอาบน้ำมัยยิต(ศพ)ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (Covid-19)ในชุมชน ตำบลกรงปินัง ปี 2566
รหัสโครงการ 9/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2566
งบประมาณ 51,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอฮีมะห์ มูเซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศาสนาอิสลามจึงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ อดทนต่อความทุกข์ การเจ็บป่วยที่ผ่านเข้ามา เพราะนั่นเป็นเพียงบททดสอบถึงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ผู้ที่ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็นที่พึ่ง และทรงเมตตาให้อภัยมนุษย์เสมอ ( ولاتقنطوامن رحمة الله ) จงอย่าสิ้นหวังในความทรงเมตตาของอัลลอฮ ตามหลักศาสนาอิสลามเมื่อมุสลิมเสียชีวิต ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องอาบน้ำศพ จัดการศพ ละหมาดขอพรและฝังศพที่สุสาน(กุโบร์) โดยต้องรีบจัดการให้เสร็จภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมง
อิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่จะทำการอาบน้ำให้กับศพนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอาบน้ำศพตามหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนการอาบน้ำและห่อศพผู้เสียชีวิตนั้น โดยส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้านของผู้เสียชีวิต และมักจะไม่มีการป้องกันอย่างถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ เช่น การสวมถุงมือยางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการสวมผ้าปิดปาก เป็นต้น ซึ่งการเสียชีวิตของมนุษย์นั้น มีลักษณะหลายรูปแบบ ตามเหตุการณ์และสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อผู้ที่จัดการศพเองและคนในชุมชนได้ เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 ญาติหรือผู้ที่ทำการอาบน้ำศพ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศพให้ถูกต้องร่วมกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่างๆ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง ได้เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการอาบน้ำมัยยิต(ศพ)ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ(Covid-19)ในชุมชน ตำบลกรงปินัง ปี 2566 เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ และการจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพ และคนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม

 

2 เพื่อให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการศพในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 51,060.00 0 0.00
14 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำมัยยิต ขั้นตอนการอาบน้ำมัยยิต และการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Covid - 19 120 51,060.00 -
14 ก.ค. 66 กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการ การเตรียมอุปกรณ์การอาบน้ำศพและการห่อศพ ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Covid – 19 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ การห่อศพ การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 2.ญาติหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการศพในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ ตามหลักสุขลักษณะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2566 11:24 น.