กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อาหารเช้าเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองช้าง
รหัสโครงการ 61-L5171-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านคลองช้าง
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 62,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชฎาพร เสนเผือก
พี่เลี้ยงโครงการ นายยศ อิสรโชติ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.364place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านคลองช้าง หมู่ที่ 9 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 63 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผักและสวนยางพาราเป็นหลัก จากการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียนจำนวน 30 คน จากนักเรียนทั้งหมด 63 คน คิดเป็นร้อยละ 47.61 ของนักเรียนทั้งหมด โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนต้องออกทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ ทำให้ไม่มีเวลาประกอบอาหารเช้าให้แก่นักเรียน โรงเรียนบ้านคลองช้างจึงได้ทำอาหารเช้าเพื่อสุขภาพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองช้าง เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้บริโภคอาหารเช้าที่มีคุณภาพ

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ

2 2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการสมวัย

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีภาวะโภชนาการสมวัย

3 3. ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้า

ผู้ปกครองและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 85 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้า

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบการดำเนินงานโครงการ
  3. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบ พร้อมคัดกรองนักเรียนเข้าร่วมโครงการและให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้าและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน
  6. ประชุมชี้แจงรายละเอียด กำหนดข้อตกลงร่วมกันกับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  7. จัดอาหารเช้าให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  8. ประเมินผลการดำเนินการและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้บริโภคอาหารเช้าที่มีคุณภาพทุกคน
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการสมวัย
  3. ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2560 15:42 น.