กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L4127-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสร้างเสริมสุขภาวะบ้านลาแลไม่ทอดทิ้งกัน
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลลามาน มะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งที่ทุกฝ่ายได้ ช่วยกันป้องกันโรคป้องกันและควบคุมโดยตลอดมา และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศได้มา จังหวัดยะลาเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการ ป่วยต่อแสนประชากรในปี 2561 - 2565 เท่ากับ ผู้ป่วยสะสม 81.23 (439 ราย) ต่อ แสนประชากรตามลำดับ (ที่มา : ระบบสารสนเทศกรมควบคุมโรค) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วย ไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบาเจาะ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมาก จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคม ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวะนิสัยของยุงชอบออก หากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโลก จะเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไข ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนและสนับสนุนสภาพปัญหา ของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของ ไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็น ความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพ ให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลบาเจาะ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและ เพื่อเป็นกันป้องกันอย่างต่อเนื่อง กลุ่มสร้างเสริมสุขภาวะบ้านลาแลไม่ทอดทิ้งกัน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

75.00 85.00
2 1. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก

 

65.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านชุมชนโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศาสนสถาน

ร้อยละของการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านชุมชนโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและศาสนสถาน

85.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

ร้อยละของกลุ่มเป้ายหมายมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม

85.00
5 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ร้อยละของประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

80.00
6 เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ร้อยละของการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ(1 ก.ค. 2566-30 ก.ค. 2566) 8,240.00            
2 กิจกรรมอบรมประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 27,360.00            
3 กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 14,400.00            
รวม 50,000.00
1 ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,240.00 0 0.00
1 - 30 ก.ค. 66 กิจกรรมประชุมชี้แจงสถานการณ์การระบาดของโรค และการวางแผนดำเนินงานควบคุมโรค 30 8,240.00 -
2 กิจกรรมอบรมประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 27,360.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 1. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ 2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 140 27,360.00 -
3 กิจกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 14,400.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียนแกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข 140 14,400.00 -

การเตรียม/วางแผน(P) 1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมโครงการ 3. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ 4. จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 5. สรุปและประเมินผลโครงการ การดำเนินงานตามแผน (D) 1. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร และภาคีเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องฯ 2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียนแกนนำประจำครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุข 4 แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบและสำรวจบ้านสะอาดเป็นระเบียบปลอดลูกน้ำยุงลายเพื่อมอบรางวัลและเป็นบ้านตัวอย่าง 5. ติดตามและประเมินความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม
การประเมิน / รายงานผล (A) 1. การประเมินจากค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการป้องกันไข้เลือดออก 3. ประเมินจาก อัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
    1. ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
    2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    3. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องเหมาะสมทำให้สามารถลด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน ศาสนาสถาน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ