กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 66-L4127-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคอลอกาเอ รวมใจห่วงใยสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลมามี ดอนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกามารียะ ดาหามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน
65.00
2 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
55.00
3 ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบยาสูบในชุมชน
65.00
4 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)
85.00
5 ปริมาณการสูบยาสูบเฉลี่ยต่อวันของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน
75.00
6 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่คุกคามชีวิตของประชาชนจากโรคมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในชายหญิงในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 70 ชนิดควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบแต่ได้รับควันบุหรี่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหอบหืด ภูมิแพ้และโรคอื่นๆมากมายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสานพลังความร่วมมือในการลด ละ เลิกบุหรี่ส่งเสริมการบังคับกฎหมายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2534 การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้แก่ โรคปอดอุดกั้น เรื้อรังโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เมื่อปี 2564 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 - 24 ปี อัตราการสูบ 24.9% อายุ 25 - 44 ปี อัตราการสูบ 35.3% อายุ 45 - 59 ปี อัตราการสูบ 35.5% มากกว่า 60 ปี อัตราการสูบ 33.1% และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2565 พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน พื้นที่ตำบลบาเจาะ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 9,547 คน เพศชาย จำนวน 4,736 คนเพศหญิง จำนวน 4,811 คน ในปี 2565 อัตราการสูบบุหรี่ระดับพื้นที่ตำบลบาเจาะ รวม 32.8% พฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ในตำบลบาเจาะ สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ตามกฎหมายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากการได้รับควันบุหรี่มือ 2 และ 3 ในคนที่ไม่ได้สูบและสร้างเสริมกลไกทางสังคมดูแลให้กำลังใจให้คนสูบลดละเลิกตลอดจนป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เป็นนักสูบหน้าใหม่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

65.00 80.00
2 เพื่อลดการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

55.00 80.00
3 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบยาสูบในชุมชน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบยาสูบในชุมชน

65.00 80.00
4 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบยาสูบในชุมชน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูบยาสูบในชุมชน

65.00 80.00
5 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)

85.00 90.00
6 เพื่อลดปริมาณการสูบยาสูบของผู้สูบบุหรี่ อายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน

ปริมาณการสูบยาสูบเฉลี่ยต่อวันของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน

75.00 90.00
7 เพื่อเพิ่มจำนวนการมีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน

75.00 90.00
8 เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนให้ประชาชนเห็นความสำคัญของพิษบุหรี่ ผลกระทบและความสูญเสีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมนำไปสู่การลด ละ เลิกสูบบุหรี่

 

65.00
9 เพื่อจัดกิจกรรมกลุ่มส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องในระดับหมู่บ้าน/ตำบล เพื่อให้เป็นพื้นที่รวมตัวกันทำกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพวงคุยกันเสริมพลังคนตั้งใจเลิกบุหรี่

 

80.00
10 เพื่อรณรงค์ให้เกิดบ้านปลอดบุหรี่ สร้างจิตสำนึกไม่สูบบุหรี่ในบ้าน

 

85.00
11 เพื่อส่งเสริมจัดสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย

 

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 แต่งตั้งคณะทำงานสานพลังชุมชนปลอดบุหรี่/จัดประชุมทุก 1-2 เดือน(1 พ.ค. 2566-25 พ.ค. 2566) 0.00            
2 จัดเวทีประชาคมในชุมชน(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 31,920.00            
3 กิจกรรมรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 18,080.00            
รวม 50,000.00
1 แต่งตั้งคณะทำงานสานพลังชุมชนปลอดบุหรี่/จัดประชุมทุก 1-2 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 จัดเวทีประชาคมในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 31,920.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 จัดเวทีประชาคมในชุมชนสร้างข้อตกลงเรื่องชุมชนปลอดบุหรี่กำหนดสถานที่สาธารณะที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน สมาชิกกลุ่มร่วมกับ อสม. สำรวจคนสูบบุหรี่/สำรวจบ้านที่มีคนสูบ/บ้านที่ปลอดคนสูบบุหรี่ 150 31,920.00 -
3 กิจกรรมรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 18,080.00 0 0.00
18 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 จัดกิจกรรมรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่/จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะตามกฎหมายกำหนดในชุมชน/สถานที่ต่างๆ 150 18,080.00 -
  1. แต่งตั้งคณะทำงานสานพลังชุมชนปลอดบุหรี่/จัดประชุมทุก 1-2 เดือน
  2. จัดเวทีประชาคมในชุมชนสร้างข้อตกลงเรื่องชุมชนปลอดบุหรี่กำหนดสถานที่สาธารณะที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน สมาชิกกลุ่มร่วมกับ อสม. สำรวจคนสูบบุหรี่/สำรวจบ้านที่มีคนสูบ/บ้านที่ปลอดคนสูบบุหรี่
  3. พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน ครอบครัว/อสม. หลักสูตร 1 วัน ให้มีความรู้แตกฉานเรื่องพิษภัยการสูบบุหรี่และการส่งเสริมให้กำลังใจช่วยเลิกบุหรี่
  4. จัดกิจกรรมรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่/จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะตามกฎหมายกำหนดในชุมชน/สถานที่ต่างๆ
  5. จัดทำสื่อ/ไวนิล ป้ายรณรงค์ สถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ต่างๆ
    1. สื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย/วิทยุชุมชนอย่างต่อเนื่อง/ในทุกโอกาสเพื่อสร้างความตระหนักรู้ร่วมของประชาชนในชุมชนในเรื่องพิษภัยและเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย
    2. ติดตามเยี่ยมบ้านเสริมพลังตั้งใจเลิกที่บ้าน/ติดตามประเมินผล บ้านปลอดบุหรี่/ชุมชน/สถานที่สาธารณปลอดบุหรี่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชน/เจ้าหน้าที่/อสส. ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานบุหรี่ในชุมชนจำนวนผู้สูบบุหรี่ความสมัครใจและสามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย สร้างการเรียนรู้สู่สังคมปลอดบุหรี่ อัตราการป่วย/ตาย จากโรคที่มีบุหรี่เป็นสาเหตุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ