กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเยาวชนเรื่องภัยอันตรายจากเทคโนโยลีที่มีผลต่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L1467-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดบ้านสิเหร่
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบรรลือ หมวดแดหวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนมีบทบาทในชีวิตประจำวันต่อเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่การติดต่อสื่อสาร การแสดงออกทางด้านความคิดและสภาวะจิตใจ ของเด็กและเยาวชน พฤติกรรมการสื่อสารเทคโนโลยีกับสุขภาพจิต ของเด็กและเยาวชน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากโครงการวิจัย “การสื่อสารโทรคมนาคมกับสุขภาพ ใจของวัยรุ่น” ซึ่งได้ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อการสร้างความสุข ความสบายใจ เพิ่มพูนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นเป็นประจำ เด็กและเยาวชนหญิง มีแนวโน้มอาการเสพติดการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่เด็กและเยาวชนชาย จะมีอาการเสพติดการใช้อินเทอร์เน็ต มากกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการสื่อสารเทคโนโลยีกับภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนพบว่า ปริมาณเวลาในการใช้การสื่อสารมีผลต่อภาวะซึมเศร้า คือ การเสพติดการสื่อสารทั้งโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้มากยิ่งขึ้น นี้แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการใช้งานในการสื่อสารมากหรือน้อยอาจไม่สำคัญเท่ากับภาวะความรู้สึก ต้องการในลักษณะ “เสพติด” อันเป็นตัวแปรสำคัญที่สะท้อนการให้คุณค่าความสำคัญ และผูกมัดการ สื่อสารเทคโนโลยีกับชีวิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีการสื่อสารจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือ สำคัญที่ช่วยลดและสร้างปัญหาทางจิตใจให้คนในยุคปัจจุบันได้ในเวลาเดียวกัน
ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดบ้านสิเหร่ จึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ แก่เด็กและเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้โทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตให้เป็นเวลาและให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กและเยาวชน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้มีทักษะ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อน สังคม และประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และสามารถเลือกใช้สื่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านการใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ต 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้สื่อเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้และสามารถเลือกใช้สื่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม
  2. เด็กและเยาวชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านการใช้งานบนโลกอินเตอร์เน็ต
  3. เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้สื่อเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ ๒. ในการเสนอโครงการขออนุมัติ ใช้งบประมาณจัดกิจกรรม 3. กำหนดการฝึกอบรม 4. ติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน และรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความสามารถเลือกใช้สื่ออินเตอร์เนตได้อย่างเหมาะสม 2.ทำให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านการใช้งานบนโลกอินเตอร์เนต 3.ทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญในการใช้สื่อเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ไม่กระทบต่อสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 11:00 น.