กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L4127-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มตันหยงนากอสร้างเสริมสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลดอรอพา สูแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวไซนูร์ บาระตายะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
75.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
75.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
65.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
75.00
5 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน
65.00
6 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
65.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพดีคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับหรือการพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง ซึ่งการออกกำลังกายสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการเดินเร็ว การวิ่งเหยาะๆ การแกว่งแขน การใช้ไม้พองประกอบ โยคะ ลีลาศ แอโรบิค สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม การเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกายของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ การออกกำลังกายที่ดีควรออกกำลังกายวันละประมาณ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน กิจกรรมเดินวิ่ง เพื่อสุขภาพ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาเจาะ หันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ด้วยวิธีการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่ง แบบเดินเร็วทำเวลา โดยการวิ่ง เนื่องจากปัจจุบัน พบว่า ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อต่างๆ มากขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมทั้งการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดความดันโลหิต ดังนั้น การออกกำลังกาย โดยวิธีการเดิน วิ่ง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดพุง และช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการปลุกกระแสการออกกำลังกายให้บุคคลและประชาชนทั่วไปหันมาสนใจการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคต่างๆ และสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

75.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

75.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

65.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

75.00 85.00
5 เพื่อเพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

65.00 80.00
6 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

65.00 85.00
7 เพื่อส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของการส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

85.00
8 เพื่อส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของการส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

80.00
9 เพื่อส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของการส่งเสริมและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 การเตรียม/วางแผน(P)(1 ก.ค. 2566-30 ก.ค. 2566) 0.00            
2 การดำเนินงานตามแผน (D)(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 50,000.00            
3 การประเมิน / รายงานผล (A)(1 ก.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 0.00            
รวม 50,000.00
1 การเตรียม/วางแผน(P) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 การเตรียม/วางแผน(P) 20 0.00 -
2 การดำเนินงานตามแผน (D) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 280 50,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการและประเมินสมรรถภาพทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ 120 22,000.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน - วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน - วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย จำนวน 7 วัน ๆ ละ 2 ชั่วโมง เวลา 16.30 - 18.30 น. 80 28,000.00 -
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเดิน - วิ่งต่อเนื่องทุกวัน เวลา 17.00 น - 18.00 น. 80 0.00 -
3 การประเมิน / รายงานผล (A) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 0.00 0 0.00
1 ก.ค. 66 - 30 ธ.ค. 66 การประเมิน / รายงานผล (A) 80 0.00 -

การเตรียม/วางแผน(P) 1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมโครงการ 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 4. จัดกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายโดยการเดินวิ่ง
5. สรุปและประเมินผลโครงการ การดำเนินงานตามแผน (D) 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการและประเมินสมรรถภาพทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ
2. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกายด้วยการเดิน - วิ่ง ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยการเดิน - วิ่งที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย จำนวน 7 วัน ๆ ละ 2 ชั่วโมง เวลา 16.30 - 18.30 น. 3. จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเดิน - วิ่งต่อเนื่องทุกวัน  เวลา 17.00 น - 18.00 น. การประเมิน / รายงานผล (A) ๑. นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของประชาชนในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์
๒. ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอวจากแบบบันทึกรายประจำเดือน
3. ประเมินสมรรถภาพทางด้านร่างกาย เดือนละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์
1.กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดสภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย 2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองโดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และสามารถฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายได้ถูกต้อง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ